วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไทพาเก 5000 ชีวิต ในพันล้านประชากรอินเดีย


ไทพาเก 5000 ชีวิต ในพันล้านประชากรอินเดีย

โดย นวพล ลีนิน

คำนำ
          งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการเดินทางลงพื้นที่รัฐอัสสัมประเทศอินดีย หากการเดินทางในครั้งนี้ คล้ายการไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่พลัดพรากกันมา พี่น้องที่พลัดพรากกันตั้งแต่เด็กพอจำความได้เลาๆ  เมื่อได้มาพบกันอีกครั้ง สิ่งที่พอรื้อฟื้นขึ้นมาได้ เพื่อทบทวนความทรงจำหรือเรื่องราวในอดีต ในความเป็นพี่น้องย่อมมีความสัมพันธ์ด้วยต่างมีพ่อแม่เดียวกัน ซึ่งช่วงชีวิตคนคนหนึ่งคงไม่ยากนักที่จะทบทวนเรื่องราวในอดีต โดยเฉพาะเรื่องราวที่ทำร่วมกันมา อย่างน้อยญาติผู้ใหญ่หรือคนใกล้ชิดที่มีอายุอาจช่วยทบทวนเรื่องราวให้ได้บ้าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีชาติพันธุ์เป็นอัตตะลักษณ์ร่วม ในแต่ละกลุ่มสังคมย่อมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นับจากกลุ่มเครือญาติสู่กลุ่มสังคมรัฐชาติ เรื่องราวของแต่ละกลุ่มชนบันทึก เป็นประวัติศาสตร์ในแบบเรียน หรือในงานวิชาการ เหตุปัจจัยหลายประการที่ทำให้กลุ่มคนในอดีตต้องอพยพโยกย้ายไปยังพื้นที่ต่างๆบนแผ่นดินโลก ทั้งภัยธรรมชาติและสงคราม การรุกรานระหว่างเผ่าพันธุ์ หรือการแสวงหาดินแดนใหม่อันเหมาะสมต่อการตั้งบ้านเมือง เมื่อกล่าวถึงกลุ่มชนฉานไตซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีบรรพบุรุษสายเดียวกับคนไทสยามในประเทศไทยนั้น ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากหลักฐานที่เก็บรวบรวมไว้ด้วยงานเอกสาร หากมีดินแดนสักแห่งหนึ่งที่พร้อมบอกเล่าเรื่องราวด้วยกลุ่มคน สังคม บ้านเรือน ภูมิปัญญา ดั่งตำราเรียนที่ยังมีลมหายใจอยู่ ในความเป็นวิถีชีวิตของพี่น้องเผ่าไท ที่หมู่บ้านไทพาเกรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย คือสถานที่ดั่งที่กล่าวมาเป็นอีกที่หนึ่ง  
          บทเรียนทางประวัติศาสตร์อาจช่วยให้ผู้คนนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของประเทศไทย มองย้อนจากปัจจุบันสู่เหตุการณ์ในยุคความรุ่งเรืองของอาณาจักรต่างๆแห่งชนเผ่าไทอันไกลโพ้น ตำนานที่กล่าวถึงอาณาจักรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทมากมายที่รุ่งเรืองขึ้น แล้วเสื่อมสลายไปด้วยสาเหตุที่กล่าวไว้คล้ายๆกัน พงศาวดารหรือตำนานทางประวัติศาสตร์มักกล่าวถึงการรุกรานจากภายนอกประการหนึ่ง ประการที่มักกล่าวกันแต่เพียงผ่านไปแต่ไม่ลึกซึ้งนัก เมื่อมองในมุมมองของความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ ความเสื่อมสลายที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายใน นั้นคือความขัดแย้งที่ไม่สามารถหาทางออกอื่นได้ นอกจากการใช้กำลังเข้าทำร้ายกันเอง ไทสยามหรือไทน้อยกับไทพาเกจึงเป็นดั่งพี่น้องที่พลัดพรากกันมา เพราะสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดจากความอ่อนแอของคนในครอบครัว พ่อแม่พี่น้องต่างกระจัดกระจายกัน เมื่อได้มาพบกันอีกครั้งความรู้สึกซาบซึ้งใจและอบอุ่นใจจึงเกิดขึ้น
           การเดินทาง
10 วันในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย  โดยโครงการสำรวจพืชสมุนไพรชาวไทพาเกของคณะมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ จังหวัดปราจีนบุรี คณะเดินทางรวม 5 ชีวิต มีหัวหน้าคณะคือ หมอต้อมหรือ ภญ.ดร.สุภาพร ปิติพร และคณะร่วมทางอีก 4 ท่านหมอนิตย์ นิตยา ภิญโญตระกูล ในฐานะคุณหมอช่างภาพรับเชิญ พี่วี วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง นักเขียนสารคดี จากนิตยสารสารคดี  คุณเหมียว เบญจวรรณ บุญเผือก หัวหน้าแผนกข้อมูลสาระสนเทศ และตัวผมเอง นวพล ลีนิน ซึ่งต้องขอขอบพระคุณสำหรับโอกาสในการเดินทางครั้งนี้ เพราะมันมากกว่าเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ จากสนามบินสุวรรณภูมิสู่กัลกัตต้า (k0lkata)  ต่อเครื่องบิน อีกสองต่อไปสู่กูวาฮาตี(Guwahati)ซึ่งเป็นศูนย์กลางของรัฐอัสสัม ต่อไปยัง ดิบรูกาห์ (Dibrugarh) ก่อนเข้าสู่ดินแดนที่คล้ายกาลเวลาได้ชะลอความเป็นไทไว้ที่นั้น 10 วันแห่งการเดินทางมากพอที่ทำให้เห็นความสำคัญของคำว่าวัฒนธรรม ความเข้มแข็งของกลุ่มคนที่มีประชากรเพียงหลักพันอันน้อยนิด เมื่อเปรียบกับจำนวนประชากรเกือบ 30 ล้านคนในรัฐอัสสัม หรือกว่า 1พันล้านของในประเทศอินเดีย มิตรภาพอันอบอุ่นที่เราได้รับจากการต้อนรับในหมู่บ้านไทพาเกกว่า 5 หมู่บ้าน มันมากกว่าการเดินทางท่องเที่ยวพักนอนตามโรงแรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวโดยทั่วไป จากมุมเมืองอันคับคั่งด้วยผู้คนของอินเดีย เลี้ยวเข้าสู่หมู่ชนบท บ้านไม้ไผ่ยกพื้นผู้คน และการแต่งกายที่คล้ายชาวภาคเหนือหรือภาคอีสานของประเทศไทย สำเนียงคำพูดที่สามารถจับความได้ในบางคำ นั้นคือความประทับใจที่ผสมอยู่ด้วยความประหลาดใจว่านี้คือประเทศอินเดีย โอกาสที่ได้ดูงานแหล่งผลิตชาอันดับต้นๆของโลก คณะของเราได้เห็นมากกว่าดื่มชาต้อนรับ ด้วยการเดินเข้าไปชมในสวน เดินชมกระบวนการผลิตชาในโรงงาน ผู้คนที่ต้อนรับเราประหนึ่งญาติพี่น้อง คุณงี่ยอดและครอบครัวที่ให้การต้อนรับทั้งเรื่องที่พักและประสานงานการลงพื้นที่ พระปัญญาศิริในฉายาโฮรุภันเต(ภิกษุผู้ต่ำต้อย)และอีกหลายคน เรื่องราวการเดินทางพบเครือญาติพี่น้องไทพาเก กลุ่มคนที่รักษาความเป็นไทไว้ได้ในจำนวนเพียงหยิบมือ คือเรื่องราวหลังการเดินทางของผู้เขียน เพื่อใช้ประกอบรายงานนำเสนอมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ตามเห็นสมควร โดยโพสไว้ใน blogger Nawapol leenin เพื่อผู้สนใจติดตามอ่านได้ง่ายขึ้น

          ความรู้สึกที่ดี ผู้สละเวลามาให้การต้อนรับและร่วมขบวนไปพร้อมกับพวกเรา และสายน้ำพรหมบุตร สายน้ำบุรีดิฮิง อันอยู่ไม่ไกลนักจากต้นธารแห่งธรรมชาติเชิงเขาหิมาลัย เรือกสวนไร่นา วัดวาและหมู่บ้านที่ยังคงกลิ่นอายในอดีตกาลบนเส้นทางการอพยพของชนเผ่าไท คือไทพาเก คือหนึ่งในเครือญาติไท.


นวพล ลีนิน
ผู้เขียน

 

 

 

บันทึกกำหนดการเดินทาง
22 มีนาคม 2557        ออกเดินทางจากเมืองปราจีนบุรีโดยรถตู้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ เช้ามืดเวลาตีสาม ถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ 05.30 น. เครื่องบิน Flight 9W 65 ออกจากเมืองไทย 06.50 น. ถึงสนามนานาชาติสุภาส จันดราโพส (Subhas Chandra Bose) เมืองกัลกัตต้า (Kolkata)อินเดียใช้เวลา 2 ชม.ในการเดินทาง ต่อไปเครื่องบิน Flight 9W 2363 ไป สนามบินนานาชาติกอปีนาทบอร์โดลอย(Gopinath Bordoloi)        เมืองกูฮาวาตี(Guwahati)ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.( 09.50 ถึง 11.05)  ต่อเครื่องบิน Flight 9W 7079 ไปสนามบินโมฮันบาริ (Mohanbari) เมืองดิบรูกา(Dibrugath)ใช้เวลาประมาณ 55 นาที (12.40 น ถึง13.35 น) หมายเหตุ ช่วงเวลาสนามบินที่อินเดียใช้เวลาประเทศอินเดียซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 1.30 ชม.
ออกเดินทางจากสนามบินไปบ้านของคุณงี่ยอดที่อำเภอนาฮากาเทียใช้เวลาประมาณ
1 เข้าหมู่บ้านนำพาเก พบหมอยาชาวบ้านส่วนหนึ่งมาต้อนรับ

23 มีนาคม 2557 ออกเดินทางจากที่พักไปหมู่บ้านนำพาเกโดยรถแวนแวะวัด พบโฮรุพันเต ชมหนังสือที่วัดรับขวัญที่บ้านนำพาเก ไปวัดพบโฮรุ เดินไปบ้านที่ชายน้ำ ชมพิพิธภัณฑ์น้อย
คณะส่วนหนึ่งไปจ่ายตลาดนาฮากาเตีย

24 มีนาคม 2557 เดินทางจากที่พักไปเยี่ยมวัด และโรงเรียน ของงี่ยอด เดินสำรวจสมุนไพรป่าพร้อมคณะหมอยาบ้านนำพาเกกลับมานอนพักที่บ้านคุณงี่ยอด
25 มีนาคม 2557 คณะเดินจากบ้านคุณงี่ยอดไปรับประทานอาหารเช้าบ้านอ้ายเซียง ชมหนังสือโบราญ ออกเดินทางไป หมู่บ้านทิบามพาเก เดินพบเครือข่ายทางธรรมโฮรุภันเต กลับมานอนบ้านงี่ยอด

26 มีนาคม 2557 เดินทางไปบ้านบอร์พาเก และมันโมพาเก นอนที่บ้านยายเยนาวมันโมพาเก

27 มีนาคม 2557 เดินสำรวจสมุนไพรทุ่งนาบ้านมันโม เสร็จแล้วเดินทางต่อไปหมู่บ้านพานาง นอนบ้านพานาง

28 มีนาคม 2557 ลงพื้นที่สำรวจสมุนไพรหมู่บ้านพานาง พบชาวเนปาลี พบชาวอาหมที่แต่งงานกับคนไทพาเก เดินทางกลับบ้านงี่ยอด ชาวบ้านเดินมาส่งที่ท่าน้ำ

29 มีนาคม 2557 ดูงานไร่ชาและโรงงานผลิตชา ไปลงพื้นที่และกินข้าวบ้านพ่อแม่งี่ยอดนำพาเก ดูศิลปะการแสดงของเด็ก แวะบ้านบังกะโลที่ริมน้ำ กลับมานอนบ้านคุณงี่ยอด

30 มีนาคม 2557 รับประทานอาหารเช้า พูดคุยและถ่ายภาพกับครอบครัวงี่ยอดเดินทางไปไปสนามบิน แวะถ่ายภาพแม่น้ำพรหมบุตร ถึงสนามบินช่วงบ่าย เครื่องบิน Flight 9W 7080 จากสนามบินโมฮันบาริ (Mohanbari) เมืองดิบรูกา(Dibrugath)ไปสนามบินนานาชาติกอปีนาทบอร์โดลอย(Gopinath Bordoloi)        เมืองกูฮาวาตี(Guwahati)ใช้เวลาประมาณ 55 นาที (14.00 ถึง 14.55 น.) ต่อเครื่องบิน Flight 9w 2364 ไปสนามนานาชาติสุภาส จันดราโพส (Subhas Chandra Bose) เมืองกัลกัตต้า (Kolkata) .ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. (15.50 ถึง 17.05) รอต่อเครื่อง Flight 9W616 (เครื่องเสียเวลา) เดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้า และเดินทางต่อด้วยรถตู้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศถึงที่พักจังหวัดปราจีนโดยสวัสดิภาพ

 

                   __________________________________________________

 

 

ภาพชาวบ้านนำพาเกทำพิธีในวันสางแกน หรือปีใหม่ไทน


 

 

 

 

 

 

 

 

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปฏิรูปประเทศในวาระแห่งกฎธรรมชาติ


ปฏิรูปประเทศในวาระแห่งกฎธรรมชาติ
บทความโดย นวพล ลีนิน
                ใครเคยถูกไฟตะเกียงลนผมจนไหม้ส่งกลิ่นบ้าง
? วันนี้อาจหาผู้ตอบว่า “เคย”ได้อยู่บ้าง ขณะที่ผู้คนโดยส่วนใหญ่อ่านเขียนในมุมแสงสว่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สังคมไทยกำลังก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านในทุกๆด้าน ผู้คนในสังคมชนบทแบบดั้งเดิมกำลังทยอยลาจากไปพร้อมๆภูมิปัญญาที่สร้างสมมาด้วยตัวของตัวเอง วิธีคิดหรือเครื่องมือเครื่องใช้หลายๆอย่างที่หมดความจำเป็นไปแล้ว ความเป็นเมืองหรือตลาดร้านรวงเข้าไปสู่แทบทุกพื้นที่ในประเทศไทย ร้านค้าที่เกิดขึ้นในทุกๆที่ที่เป็นชุมชน นั้นคือประตูที่นำความทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงกระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ภาพการเปลี่ยนแปลงที่ยกตัวอย่าง เมื่อลูกชาวไร่ชาวสวนสามารถสื่อสารกันทางเฟสบุ๊คผ่านจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือได้ แม้อยู่ในบ้านสวนดงลึก มิพักจะให้เข้าใจถึงกลิ่นตะเกียงน้ำมันก๊าดไหม้เส้นผมตอนอ่านหนังสือกันอีก องค์สาระความบันเทิง.ข่าวและความรู้ต่างๆสามารถเข้าถึงผู้คนในระดับล่างได้ง่ายขึ้น ความเปลี่ยนแปลงจากกระแสการรับรู้ที่ผ่านสื่อต่างๆอย่างรวดเร็วนั้น ได้สั่นคลอนกลไกของความสัมพันธ์แบบเดิมที่เคยมีอยู่ คนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านที่เคยทรงภูมิ ผู้เป็นกลไกในการจัดการความขัดแย้งไม่สามารถทำงานได้เหมือนเก่า หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า “เด็กไม่ฟังผู้ใหญ่” และคำถามมากมายจากกระแสแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่รวดเร็ว โครงสร้างทางสังคม หรือสถาบันหลักในสีธงชาติที่ถูกปลูกฝังกันมาในช่วงเวลาประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา นั้นคือความเป็นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่กำลังก้าวข้ามยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนแปลง และในวาระของการถ่ายโอนความรับผิดชอบต่อสังคมไทยโดยรวมให้กับผู้คนในยุคต่อไป
                จากเรื่องไฟตะเกียงไหม้เส้นผมขณะอ่านหนังสือ ลงไปสู่เรื่องวิธีการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นที่ผ่านมา ชาวนาในยุคก่อนมีภูมิความรู้จากการลงมือทำ มือกำกล้าข้าวปักดำ เท้าที่ย้ำดินโคลน หัวใจที่เต้นไปพร้อมฤดูกาล สิ่งที่สั่งสมเป็นวิถีชีวิตที่สำนึกในคุณค่าของดินฟ้าอากาศ เป็นองค์ความรู้ที่อาจไม่สามารถอธิบายตามหลักวิชาการได้ ในรากหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนคือการถ่ายความรู้ในลักษณะที่ไม่สามารถถอดเป็นบทเรียนได้เท่าลงมือทำจริงๆด้วยชีวิตทั้งชีวิต หรือเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติการโดยตรง เชื่อมร้อยไปกับการเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองปกครอง ความศรัทธาระหว่างรัฐและมหาชน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นได้สะท้อนปัญหาความขัดแย้งและความรุ่นแรงประเทศไทยในระยะ
82ปี นับจากปี 2475 ที่ผลัดหมุนกงล้อแห่งอำนาจให้เคลื่อนไป  หากยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า นี้คือห้วงเวลาสุดท้ายของการต่อสู้ทางแนวคิดกลุ่มสังคมนิยม(ฝ่ายซ้าย)กับกลุ่มอำนาจนิยม (ฝ่ายขวา)อันมีสัญลักษณ์ผ่านสถาบันหลักของชาติ 3 สถาบันคือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การต่อสู้ในยกสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนผ่านในบริบทใหม่ของโลก อำนาจรัฐไม่อาจควบคุมหรือเซนเซอร์ได้เหมือนก่อน คำถามที่ยอกย้อนจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในคุณค่าของผืนแผ่นดิน รัฐชาติ และวิถีชีวิตแห่งยุคสมัย ที่ทำให้พวกเขาตั้งคำถามว่า “ทำไมต้องกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน”หรือ “สถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์มีความสำคัญอย่างไร” ในลักษณะเดียวกัน หากคำอธิบายที่ไม่อาจอธิบายได้ในทันที เช่นเดียวกับชาวนายุคดั้งเดิมคนหนึ่งที่ไม่สามารถอธิบายถึงความเข้าใจที่เขามีต่อ คุณค่าของดินฟ้าอากาศ หรือการสื่อสารกับธรรมชาติของเขาได้อย่างไร
                แน่นอนว่าโครงสังคมไทยเป็นโครงสร้างอำนาจนิยม อำนาจอันมีรากฐานมาจากมาจากบรรดาขุนศึก นักการทหาร อันเชื่อมโยงสู่สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นจิตวิญญาณของรัฐชาติ ปัจจัยที่สำคัญคือพระราชกรณียะกิจที่ผ่านของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพลังในการรวมศูนย์กลางความศรัทธาในรัฐชาติ เพื่อการสร้างชาติในยุครอยต่อของสงครามขั้วมหาอำนาจ นับจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่
2 ,สงครามเย็น และสงครามทุนการค้าในยุคปัจจุบัน ในขณะที่การเคลื่อนไหวในทางลับฝ่ายสังคมนิยมหรือกลุ่มหัวขบวนพรรคคอมมิวนิตส์แห่งประเทศไทยในอดีต ส่วนที่ยังยึดมั่นในอุดมการณ์ยังยึดมั่นในแนวทางเปลี่ยนแปลงสังคม ได้ปรับกระบวนการขับเคลื่อนภารกิจเดิมในรูปแบบใหม่ โดยแวดวงที่มีพลังพลังดันเป้าหมายของขั้วอำนาจทั้งสองที่มีมากที่สุดนั้นคือ

                1.แวดวงสื่อสารมวลชน (นักข่าว นักวิเคราะห์ข่าว สื่อบันเทิง งานศิลปะในทุกแขนง ศิลปิน ดารา หนังและละคร ฯลฯ)
              
2.แวดวงวิชาการ (ครู อาจารย์ นักคิดนักเขียน นักวิจัย นักเศรษฐศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน นักการศาสนาและผู้นำทางจิต   วิญญาณฯลฯ)
                ที่ผ่านมากลุ่มคนทั้งสองแวดวงพยายามต้านทานการครอบงำจากขั้วอำนาจต่างๆ ด้วยการพลังเคลื่อนไหวกดดันจากภาคประชาสังคมในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอำนาจการครอบงำใหม่ที่เข้ามาคืออำนาจทุน การทำงานแบบเลือกข้างอย่างสุดโต่งของคนทั้ง
2 แวดวงนี้มีส่วนสำคัญมากต่อการสร้างความขัดแย้งที่เกิด อย่างไรก็ดีความขัดแย้งในครั้งนี้ แม้สุ่มเสี่ยงต่อการบานปลายของเหตุการณ์ความรุนแรง แต่เป็นโอกาสที่ดีของกระบวนการปฏิรูปในความขัดแย้งระหว่างสองคู่ขัดแย้งที่เรียกว่า “เหลืองแดง”นั้น เป็นผลที่ดีแก่ภาคประชาชนด้วย เมื่อทุกฝ่ายมองเห็นพลังของการมีส่วนร่วมทางการเมือง หากประชาชนสามารถมีบทบาทในการชุมนุมมากกว่ากลุ่มการเมือง ดังนั้นภาคประชาชนหรือประชาสังคมต้องได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทมากกว่านักการเมือง ด้วยเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวแทนมวลชนคู่ขัดแย้ง หลีกเลี่ยงประเด็นความ ความขัดแย้งในประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้หรือประเด็นที่อาจนำไปสู่ความชิงชัง หลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างภูมิภาค ซึ่งความขัดแย้งระหว่างภูมิภาคที่แสดงผ่านสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง ในทำนองที่ว่าคนเหนือ คนอิสานคือฝ่ายเพื่อไทย คนภาคใต้ฝ่ายประชาธิปัตย์ นั้นเป็นสาเหตุลดทอนพลังอำนาจจากคุณค่าร่วมของประชาชน ประชาชนซึ่งเป็นพลังสำคัญที่สุดหากการปฏิรูปเกิดขึ้นจริง สื่อผ่านระหว่างเสียงเล็กเสียงน้อยของประชาชน การรวบรวมความคิดเห็นและกระจายข้อคิดเห็นสู่สาธารณะ สร้างประเด็นร่วมในระดับชาติ โดยก้าวข้ามเงื่อนไขทางการเมือง แม้ในความเป็นจริงอาจหลีกกลุ่มการเมืองที่เป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไม่ได้ตาม หากการเพิ่มบทบาทของประชาชนให้มากขึ้น สามารถลดอิทธิพลครอบงำของกลุ่มการเมือง แม้กลุ่มการเมืองมีบทบาทสำคัญแต่มักสร้างปัจจัยให้เกิดความแตกร้าวลึกๆในสังคม และคนแวดวงทั้งสองดังที่กล่าวมาข้างตนคือกลุ่มที่สามารถสร้างพื้นที่ให้ประชาชนได้มีบทบาทมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าคนทำงานสื่อกับคนทำงานวิชาการมีความเป็นอิสระในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และในบทบาทของ คนที่สามารถรับฟังเสียงชาวบ้าน แปลเป็นภาษาวิชาการนำเสนอสู่ผู้มีบทบาทนำในการปฏิรูป
                พลังหนุนเสริมจากคนทำงานด้านสื่อและวิชาการมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการระดมความคิดเห็นของประชาชน พร้อมๆกับสร้างความเข้าใจในเรื่องโครงสร้างอำนาจของประชาชนเป็น เพราะอำนาจจากประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นในการรวมพลังผลักดันการปฏิรูปประเทศไทย วิธีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจว่า “อำนาจที่แท้จริงคือการยอมรับของประชาชนเอง” สิ่งที่กดทับอำนาจที่แท้จริงของประชาชน  คือความกลัวที่สร้างขึ้นด้วยอำนาจความรุนแรง แนวทางปฏิรูปประเทศไทยควรยึดหลักสันติประชาธรรมธรรม สันติประชาธรรมเป็นแนวทางของการอยู่ร่วมกัน นั้นคือประชาชนทุกกลุ่มในประเทศสามารถอยู่ร่วมกันได้ มีกระบวนการยุติธรรมที่ใช้งานได้จริง กลไกกระบวนการยุตธรรมคือหัวใจสำคัญของโครงสร้างอำนาจ องค์กรอิสระหรือระบบตรวจสอบทำงานได้จริง ซึ่งแน่นอนว่ารากที่ยึดโยงระหว่างระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิม ระบบอุปถัมภ์ทุนนิยม และระบบค่านิยมหมู่พวก สำหรับสังคมไทยอาจต้องใช้ระยะเวลานาน ในการปรับเข้าสู่ระบบคุณธรรม กระบวนการปฏิรูปจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมค่านิยมใหม่อย่างต่อเนื่องจริงจัง พร้อมรับความท้าทายกับการทำงานของคนยุคใหม่ได้ บนความเชื่อที่ว่ากฎหมายที่ทำงานได้คือกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของกลุ่มสังคมที่หลากหลายในประเทศกระบวนการปฏิรูปจึงจำเป็นต้องระดมความคิดจากทุกภาคส่วนทุกๆองค์กรภาคประชาสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั้นหมายถึงความยั่งยืนในเสถียรภาพของรัฐชาติในยุคใหม่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการผสานรวมของกลุ่มความคิดต่าง กลุ่มวัฒนธรรม อัตตาลักษณ์และชาติพันธุ์ และสิ่งที่มีอยู่เดิม ซึ่งหลอมรวมกันออกมา ในความเป็นจริงที่ผู้คนในยุคของพวกเราจิตนาการได้เพียงบางส่วน แม้อาจสวยงามดั่งใจเราหรือไม่เป็นก็ตาม แต่หากนั้นเป็นวิถีตามกฎการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างไรก็ดีกฎธรรมชาติและปัจจัยใหม่ที่ไม่อาจคาดเดาได้นั้น ผู้คนจะต้องออกแบบสังคมของเขาเอง และเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม นั้นคือผลของการกระทำของกลุ่มคนห้วงเวลานี้อาจเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดขึ้นในอีกร้อยปีข้างหน้า ผู้คนพยายามออกแบบวิถีชีวิตหรือสังคมที่สวยงาม ที่ซึ่งพวกเราคิดว่ามันยากในการออกแบบหรือทำให้เกิดขึ้นในวันนี้ อาจกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันของผู้คนในอีกร้อยปีข้างหน้า อันเป็นคำถามย้อนมาถึงตัวตนของผู้คนในปัจจุบัน ว่าพวกเราพร้อมยอมรับความคิดเห็นของกันและกันแล้วหรือยัง เพื่อการออกแบบสังคมในยุคต่อไป.

 

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.


นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.         


          เรามักได้ไปในสถานที่ที่เรานึกถึงอยู่เสมอ นั้นเป็นความคิดที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกประทับใจ เมื่อมีโอกาสได้ไป “วัดป่าหนองผือ” อย่างไม่คาดคิดและเรื่องแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก กับเรื่องราวของพระภิกษุรูปหนึ่งที่จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เส้นทางธุดงค์ผ่านป่าถ้ำลำไพร ซึ่งเราอาจเคยอ่านพบตามหนังสือประวัติพระเกจิอาจารย์เก่าๆเล่มใดเล่มหนึ่ง หรือในรายการสารคดี แผ่นซีดีที่ไหนสักแห่งจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายและร่วมอนุโมทนาบุญ  จำได้ว่าครั้งหนึ่งผมเคยรื้อหนังสือนิตยสารพระอย่างโลกทิพย์ ,คนเหนือโลก ,โลกลี้ลับหรืออะไรประมาณนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่พ่อมักรับไว้ทุกเดือนจนเต็มตู้ หนังสือ เรื่องราวของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ หรือที่เรียกติดปากว่าหลวงปู่มั่น กับเส้นทางและสถานที่ธุดงค์ในอดีตที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเรื่องราวปาฏิหาริย์ในยุคที่ถนนหนทางยังไม่สะดวกสบายเช่นทุกวัน คงไม่ต้องกล่าวถึงไฟฟ้าหรือโทรศัพท์ ในช่วงก่อนสิ้นอายุขัยของท่านเมื่อ
64 ปีที่ผ่านมา

          โดยส่วนตัวผมไม่ได้มีสัมผัสพิเศษหรือญาณทิพย์อะไร หากเชื่อว่าเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์ สัมผัสรู้ถึงโลกทิพย์ต่างมิตินั้น เป็นเรื่องที่สัมผัสรู้ได้เฉพาะบุคคล ในยุคที่น้ำไหลไฟสว่าง หากไปพูดคุยกับคนรุ่นใหม่บางคนเขาอาจรู้สึกขำ เมื่อเราพูดถึงเทพเทวดา ผี สางนางไม้ จึงคิดว่าค่อนข้างเสียเวลาเปล่าที่เราจะหยิบยกเหตุผลมายืนยันความมีอยู่ของเรื่องราวเหล่านี้ ผมจึงค่อนข้างระมัดระวังเมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ และมักเลือกพูดคุยกับคนที่เปิดรับเรื่องนี้ได้ โอกาสดีที่ทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศได้ขอตัวผม ผ่านทางภรรยาซึ่งทำงานอยู่ที่นั้น ให้ช่วยดูแลนำคณะชาวอินเดียจากรัฐอัสสัมไปวัดหลวงปู่มั่นที่จังหวัดสกลนคร  เบื้องต้นทราบข้อมูลเพียงว่าเป็นคณะของ “คุณงียอด เวียงแก่น” ซึ่งเป็นชาวอินเดียเชื้อสายไทพาเก หนึ่งในชนเผ่าที่พูดภาษาและมีวัฒนธรรมตระกูลชานไตในรัฐอัสสัมดินแดนรอยต่อกับพม่า ภูฐาน สิขิม เนปาลและดินแดนที่มีชื่อว่าอรุณจันทร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เหตุผลประการสำคัญที่ผมต้องรับหน้าที่นี้มีด้วยกัน 2 อย่าง หนึ่งคือน้ำใจของหมอต้อม ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศที่ให้ความช่วยเหลือในความเป็นเครือข่ายกิจกรรมมาโดยตลอด สองคือคราวที่หมอต้อมและคุณเบญจวรรณ บุญเผือก(ภรรยาของผม)เดินทางไปนำเสนองานวิชาการด้านสมุนไพรนานาชาติ  เคยลงพื้นที่ในชุมชนของคุณงียอดในรัฐอัสสัม คุณงียอดให้สถานที่พักและการต้อนรับอย่างเต็มที่  ภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้จึงรับไว้อย่างเต็มใจ และอาจมีอีกหนึ่งเหตุผลส่วนตัวลึกๆดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผมเคยรู้ประวัติหลวงปู่มั่นมาบาง เคยได้ยินชื่อเสียงและสถานที่มานาน แล้วตั้งใจว่าต้องหาโอกาสไปเยือนสักครั้งในชีวิต

          คณะของเรารวมทั้งหมด 5 ชีวิต คือคุณดอยพนักงานขับรถของมูลนิธิ พระภิกษุชาวอัสสัม 2 รูป คุณงียอด และตัวผมเอง ในตอนแรกผมไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งนี้มากนัก รู้คร่าวๆเพียงว่า เราต้องเดินทางไปจังหวัดสกลนครในเช้าวันที่ 20 พฤจิกายน 2556 นี้ โดยผมไม่รู้เลยว่าวัดป่าที่จะไปตั้งอยู่ที่ใด?ในจังหวัดสกลนคร ก็ไม่รู้ว่าวัดชื่ออะไร? คณะจากอินเดียไปวัดหลวงปู่มั่นทำไม? เจ้าอาวาสจะอยู่ไหม? แล้วพวกเขาจะไปพบเจ้าอาวาสทำไม? เรามีการเตรียมการล่วงหน้า 1 วันโดยคุณดอยแวะมาพูดนัดหมายก่อนการเดินทาง เช้าวันที่ 20 คุณดอยมารับผมราว 6 โมงครึ่งออกรถไปรับคณะที่ อาคารเปรมสุขในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ เราคุยกันถึงเรื่องอาหารมื้อเช้าอย่างกังวลใจว่าพระทั้งสองสามารถรับประทานเกาเหลาเลือดหมูที่ร้านข้างสถานีรถไฟได้ไหม แล้วทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี สังเกตว่าคุณดอยมีความทะมัดทะแมง และรอบคอบตรวจตรารถก่อนเดินทางไกล

          สำหรับคุณดอยนั้นผมเคยรู้จักมาก่อนนี้แล้ว จึงทักทายปราศรัยกันอย่างสนิทสนม ส่วนการทำความรู้จักคุณงียอด และพระทั้งสองรูป ผมใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงป่าตองภูเก็ตรู้เรื่อง พระรูปแรกยิ้มกว้างหน้าตาคล้ายคนไทยชื่อเรวัตตะ ท่านบอกว่าเป็นชื่อของพระสารีบุตรสมัยเด็ก องค์ที่สองมีหน้าตาละม้ายจีนหรือธิเบตมากกว่าอินเดีย ถ้าใครไม่รู้มาก่อนคงคิดว่าท่านเป็นหลวงจีนมาจากไต้หวัน แรกๆท่านไม่ค่อยยิ้ม แต่พอผ่านไปจึงพบว่าท่านอ่อนโยน มีอารมณ์ขัน และชอบทำท่าทางในทันทีเมื่อกล้องจับภาพ ภาษาอินเดียเรียกพระว่าภิกขุหรือภันเต ทราบความหมายภายหลังภันเตแปลว่าผู้เจริญ ส่วนภิกขุนั้นเคยรู้มาก่อนแล้วว่าแปลว่า “ผู้ขอ” เมื่อรับประทานอาหาร จัดข้าวของตรวจตราสภาพรถเรียบร้อยแล้ว  คุณดอยจึงขับรถตู้พาพวกเราข้ามเทือกเขาใหญ่ทางเส้นทางทับลาน ประเด็นพูดคุยบนรถตู้ที่ผมพยายามหยิบโยงเข้าสู่เรื่องราวของหลวงปู่มั่น เริ่มจากแผ่นป้ายไว้อาลัยสมเด็จพระสังฆราช จากปัญหาความขัดแย้งในคณะสงฆ์ไทย สู่การต่อสู้ทางการเมือง พรรคคอมมิวนิตส์แห่งประเทศไทยกับศาสนาพุทธแบบไทยๆ สุดที่คำว่า “ภูริทัตโต”ซึ่งเป็นชื่อของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่เสวยชาติเป็นพญานาค ภิกขุปัญญาศิริแสดงอาการสนใจยืดตัวตรงจากพนักเก้าอี้ที่ปรับเอนแล้วกล่าวคาถาภาษาบาลีได้น่าฟัง บทพระคาถาจับใจความได้นิดหนึ่งว่าเกี่ยวกับการรักษาศีลของพระโพธิสัตว์ภูริทัตตะ และบั้งไฟพระยานาค ผมเล่าต่อถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับลูกไฟวันออกพรรษาที่แม่น้ำโขงเป็นเรื่องที่ทั้งสามให้ความสนใจมาก โดยเฉพาะคุณงียอดถึงขนาดตื่นตั้งแต่ตีสี่ในวันรุ่งมาบอกผมว่า อยากให้เปลี่ยนแผนออกเดินทางไปดูจุดที่เกิดบั้งไฟพระยานาค แต่ผมกับคุณดอยพยายามอธิบายเส้นทางว่ามันไกลมาก และที่สำคัญคือเรานัดทางวัดไว้แล้วว่าจะไปร่วมเดินบิณฑบาตกันกับคณะพระที่วัด

          คณะของเรามาถึงวัดวัดป่าภูริทัตตถิราวาสค่ำร่ำไร คงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเดินทางเข้ามาในภาคอิสานแบบลึกๆ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสิน ก่อนถึงจังหวัดสกลนครปลายทาง การเดินทางกว่า 10 ชั่วโมง วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ตั้งอยู่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บรรยากาศที่เงียบจนผมรู้สึกเกรงใจเข้ามาของคณะโดยเสียงรถตู้อาจทำลายบรรยากาศที่เงียบสงบนี้เสีย เมื่อรถจอดพวกเราลงรถจึงพบว่า สิ่งที่ทั้งสามได้ปฏิบัติซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ชาวไทพาเกมีศรัทธาและวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ทั้งพระและฆาราวาสถอดรองเท้าก่อนเดินเข้าไปในเขตกุฎิพระอาจารย์มั่น พวกเราถอดรองเท้าตามชาวไทพาเกเดินไปกราบกุฏิที่มีป้ายบอกชื่อว่ากุฏิหลวงปู่มั่น ภาพกุฏิหลวงปู่มั่นที่เคยเห็นชาวเฟสบุ๊คโพสรูป เมื่อได้มาสัมผัสสถานที่จริง ความรู้สึกแปลกๆอย่างบอกไม่ถูก ความสงบเงียบของบรรยากาศโดยรอบ มีเพียงเสียงแมลงเรไรยามค่ำเท่านั้นกระมัง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผมคือความรู้สึกศรัทธา กุฎิหลวงปู่มั่นเป็นเรือนไม้ยกพื้นหลังคาปั้นหยามีชานยื่นออกมาเล็กน้อยระเบียงโล่งสังเกตว่าบนเรือนมีห้องเล็กๆห้องหนึ่ง แล้วความรู้สึกสะท้อนใจก็ค่อยๆเข้ามาแทนที่ เมื่อเข้าใจได้ว่ากฎธรรมชาติ หรือไตรลักษณ์ที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง ในยุคที่เราเดินทางอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับยุคของหลวงปู่ที่เดินเท้ารอนแรมกลางป่า นี้กระมังที่เป็นคุณค่าของการอนุรักษ์ แม้สรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแต่บทเรียนจากอดีตที่คนรุ่นสร้างไว้นั้น เป็นคุณค่าที่เตือนให้เราเข้าใจที่จะอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุขขึ้นและพร้อมเผชิญหน้ากับอนาคตอย่างไม่ประมาทขึ้น หลังจากคณะกราบไหว้เสร็จแล้วบรรยากาศมืดอย่างรวดเร็วในช่วงรอยต่อพลบค่ำ พวกเรารีบเดินตามแสงไฟนีออนจากกุฏิที่อยู่ถัดไป ร้องถามว่า “มีใครอยู่รึเปล่า” มีชายหัวโล้นในชุดขาวแบบชุดนาคเตรียมบวชโผล่ร่างออกมา ดูรูปร่างยังเป็นวัยรุ่น เมื่อบอกที่มาที่ไปเขาก็นำเราไปหาเจ้าอาวาส
          เมื่อไปถึงกุฏิท่านเจ้าอาวาส ผมจึงพอจับต้นชนปลายได้ถึงเส้นทางที่ไปที่มาของคณะชาวไทพาเกในครั้งนี้ เมื่อเข้าพบเจ้าอาวาส พระอาจารย์พยูง ชวนปัญโญ ชื่อชั้นยศตามตำแหน่งทางสงฆ์คือพระครูสุทธธรรมมาภรณ์  พวกเราแนะนำตัว ผมเป็นล่ามจำเป็นให้ พระอาจารย์พยูงจำคุณงียอดได้ โดยผมในฐานะล่ามจำเป็นต้องนำเรียนเรื่องการเดินทางมาครั้งนี้ เรื่องราวของคณะสงฆ์จากเมืองไทยที่อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในประเทศอินเดีย พระมุตโตทัยสยามเป็นชื่อพระพุทธรูปที่ทางวัดได้หล่อขึ้นจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้วนำไปมอบให้วัดพุทธในประเทศอินเดีย คำว่า”มุตโตทัย”เป็นเสมือนคำเฉพาะของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จากเนื้อหาในหนังสือที่ทางวัดจัดทำขึ้น ให้ความหมายไว้ว่า สมัยพระอาจารย์มั่นได้แสดงโอวาท ณ วัดธรรมเจดีย์ ในคราวนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)ได้กล่าวสัมโมทนียคาถา ชมเชยพระอาจารย์มั่นว่า ท่านแสดงธรรมด้วย “มุตโตทัย” ต่อมาภายหลังเมื่อศิษยานุศิษย์ได้ตีพิมพ์หนังสือบันทึกการแสดงธรรมของท่านจึงบันทึกหนังสือธรรมบทนี้ว่า “มุตโตทัย”  โดยคำว่า“ทัย”แปลว่าให้ “มุตโต”แปลว่าพ้น รวมความหมายแปลว่า “ให้ทางพ้นทุกข์”นั้นเอง พระพุทธรูปมุตโตทัยสยาม จากประเทศไทยที่มอบไปยังประเทศอินเดียนั้น ยังเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่นภูริทัตตโต และเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

           เราคุยกันสักครู่หนึ่งท่านเจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดนำเราไปหาที่นอน ทางวัดจัดให้พวกเรานอนกันที่ศาลาพักหลังเก่า มีป้ายเก่าเขียนว่าศาลาพักอาคันตุกะที่มาเยี่ยมวัด เป็นเรือนไม้ยกพื้น มีรูปปั้นหลวงปู่มั่นและหลวงปู่ฝั้น กับโต๊ะหมู่พระพุทธรูปตั้งอยู่เรือนไม้มีพื้นสองระดับเราจัดให้พระทั้งสองงรูปนอนด้านบน คณะของเราทยอยอาบน้ำทำภารกิจส่วนตัว ผมสังเกตว่าคุณงียอดอาบน้ำเสร็จก็นั่งนับลูกประคำอยู่ในมุ้ง ผมถือโอกาสเดินเล่นบริเวณรอบๆวัด วัดป่าแห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ๆหลายต้น มีต้นหนึ่งตรงบริเวณใกล้ที่จอดรถ ซึ่งโดยปกติผมชอบต้นไม้ และด้วยที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกมาว่าหากเราเปิดใจจริงๆ เราจะสามารถสื่อสารกับต้นไม้ได้ ต้นไม้ต้นนี้ขนาด 2คนโอบ เปลือกของต้นสีน้ำตาลนวลสว่าง ร่องรอยของเปลือกไม้เป็นแผ่นคล้ายผืนดินนาหน้าแหล่งแผ่น ผมลองเพ่งอยู่นานๆ ตาค่อยๆลายมองเห็นเป็นใบหน้าของผู้เฒ่าที่มีหนวดใส่หมวกแบบจีนอยู่ในต้นไม้  ตอนรุ่งเช้าไม่รู้จริงเท็จประการใดคุณดอยบอกว่าลุงในวัดคนหนึ่งบอกว่าต้นไม้ต้นนี้เป็นต้นที่หลวงปู่มั่นดูแลมาตั้งแต่ยังเล็กรดน้ำให้จนโตสูงใหญ่ ตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นพบว่ามีขบวนมดป่าเดินเป็นทางมาตามลานทรายจากศาลาการเปรียญไต่ขึ้นไปบนต้นไม้
          เพียงคืนเดียวที่ได้มาที่นี่ผมใช้โอกาสในครั้งนี้ให้สัมผัสถึงความรู้สึกสงบมากที่สุด ตั้งใจพิจารณาลมหายใจแบบพื้นๆเท่าที่รู้มา  เดินไปรอบๆบริเวณวัดมีทางเดินเป็นลานทรายสบายเท้า ต้นไม้ครึ้ม แต่ก็ยังได้ยินเสียงรถแม็คโฮขุดดินกับเสียงมอเตอร์ไซค์แว่วอยู่ไกลๆ คล้ายบอกว่านั้นคือสัญลักษณ์ของความวุ่นวายจากโลกภายนอก ความคิดที่ติดกับอดีตของผมเองมันทำงานเปรียบเทียบกันทุกครั้ง ระหว่างความเป็นปัจจุบันกับร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แน่นอนว่านั้นคือผลของการตระหนักในคุณค่าที่ไม่มีทางสัมผัสได้ ในยุคที่พระอาจารย์มั่นเดินเท้า แน่นอนว่าในยุคนั้นก็ไม่มีถนนหนทางหรือรถตู้เช่นยุคปัจจุบันแน่ๆ ในยุคที่สิ่งอำนวยความสะดวก และองค์ความรู้อันแสดงถึงความชานฉลาดของยุคสมัย แต่แล้วความสัมผัสอันเป็นทิพย์อย่างผู้คนยุคก่อนสัมผัสนั้นหายไป ยุคของพวกเราคล้ายเป็นจินตนาการแห่งสวรรค์บันดาลของคนยุคก่อน ผู้คนเมื่อร้อยปีก่อนคงจินตนาการได้ถึงดินแดนที่เดินทางได้อย่างรวดเร็ว พูดคุยถึงกันได้แม้อยู่ห่างไกลกัน สัมผัสกันด้วยภาพและเสียง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ปรับอากาศให้ร้อนเย็นได้ตามความต้องการ อาหารการกินที่ปรุงได้ง่ายรวดเร็วเหลือเฟือย ในที่สุดคนเราก็มักหาคำตอบในคำถามพื้นๆไม่ได้ว่า เราต่างดิ้นรนไปเพื่ออะไรกัน

          การเดินทางครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต ผมรู้สึกภูมิใจที่ประสานให้พระจากรัฐอ้สสัม ประเทศอินเดียได้เดินบิณฑบาตร่วมขบวนกับพระที่วัดภูริทัตตธิราวาส คณะพวกเราตื่นกันตั้งแต่เช้ามืดทยอยล้างหน้าแปรงฟัน ผมรู้สึกแปลกใจที่คุณงียอดบอกว่า ถ้าเป็นไปได้คณะอยากไปดูสถานที่เกิดบั้งไฟพระยานาคมากกว่า เช่นเดียวกับ ภิกขุปัญญาศิริที่บอกว่าเขาเคยอ่านหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ท่านภาวนาอยู่ในถ้ำ ต้องเผชิญกับสิ่งที่น่ากลัว พวกยักษ์หรือพระยานาค แล้วก็อยากไปดูถ้ำของพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านยังสงสัยว่าทำไมที่นี่ไม่มีถ้ำ ออกอาการคล้ายเสียดาย แต่นั้นคือข้อเสนอที่ผมกับคุณดอยค่อนข้างหนักใจเนื่องจากเวลาเรามีน้อย อีกทั้งคณะเรานัดกับทางวัดไว้แล้วว่าจะร่วมเดินบิณฑบาต คุณดอยเอาแผนที่มากางให้คณะได้ดู เพื่อให้พวกเราทั้งหมดได้เข้าใจ เห็นว่าระยะทางจากที่นี่ไปอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นอีก 400 กิโลเมตร ผมจึงพยายามอธิบายจนคณะเข้าใจว่าเราจะเสียเวลามากๆและอาจตกเครื่อง  จึงได้ข้อสรุปตกลงว่าเราไปร่วมเดินบิณฑบาต โดยทางวัดได้จัดเตรียมบาตรไว้ 2 บาตร มีพระพี่เลี้ยงแสดงวิธีจัดบาตร  เมื่อแสงตอนเช้าส่องได้ที่ พวกเราจึงเดินเพื่อไปตั้งขบวนที่ทางเข้าหมู่บ้าน ผมถอดรองเท้าเดินตามแบบคุณงียอด สองข้างทางเป็นทุ่งนาช่วงฤดูเกี่ยวข้าว มีกองฟางอยู่ในทุ่งหน้า ต้นข้าวแห้งเป็นสีเหลืองสว่างตาเมื่อต้องแสงยามเช้า บรรดาพระ 24 รูปตั้งขบวนที่ปากทางเข้าหมู่บ้าน เมื่อพร้อมแล้วจึงออกเดินอย่างเป็นระเบียบและสงบ ชาวบ้านตั้งขบวนกันอยู่จุดเดียว จึงใช้เวลาไม่มาก ชาวบ้านหนองผือยังใสบาตรทุกเช้า บางบ้านมีเรือนไม้ขนาดประมาณตู้กับข้าวยกพื้นสูงตั้งไว้หน้าบ้านสำหรับวางปิ่นโตและของใส่บาตร ทราบมาว่าทางหมู่บ้านและวัดพึ่งจัดพิธีฉลองครบรอบวันละสังขารหลวงปู่มั่น แม้หลวงปู่มั่นละสังขารไปครบ 64 ก่อนเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา เท่าที่สังเกตดูคุณงี่ยอดประทับใจในกิจกรรมยามเช้าครั้งนี้มาก เดินเท่าเปล่าตามขบวนพระ ทักทายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวภูไท ภาษาไทพาเกกับภาษาภูไทสื่อสารกันได้ เพียงไม่กี่นาทีที่พูดคุยกันชาวบ้านก็เปิดกระติบข้าวให้ล้วงข้าวเหนียวที่เหลือจากขึ้นมาชิม เราโชคดีที่ได้รับมิตรไมตรีจากชาวบ้านที่นี่ บางคนถามผมว่าเป็นนักข่าวมาจากช่องไหน จึงต้องอธิบายให้พอเข้าใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และหนึ่งในนั้นคือลุงสมหมายที่ปั่นจักรยานมาจอดคุย เมื่อขบวนพระเดินกลับวัดไปแล้ว ลุงสมหมายชวนพวกเราไปบ้านเพื่อแวะดูพระธาตุที่แกสะสมไว้ ถือเป็นมิตรไมตรีที่ดีมากสำหรับผู้ที่พบกันเป็นครั้งแรก แล้วเชิญพวกเราเข้าไปชมห้องพระที่อยู่บนบ้านลึกถึงห้องนอน ลุงสมหมายเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่เกษียณอายุปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในห้องพระมีพระเครื่องและพระพุทธรูปอยู่เกือบเต็มทุกด้าน  ระหว่างที่อัญเชิญพระเครื่องลงมาให้พวกเราชม กับอาการเร่งรีบของลุงสมหมายที่พูดสอนธรรมให้พวกเราฟัง ไม่รู้ว่าเป็นบาปหรือเปล่าที่ผมแอบขำแกมหมั่นไส้ลุงเขาอยู่ในใจ เนื่องจากเวลามีจำกัด จึงขอบอกขอบใจและหวังว่าหากมีโอกาสจะกลับมาขอชมพระธาตุอีกครั้ง

          ช่วงก่อนพระฉันเช้าทางพระอาจารย์พยุงได้กล่าวแนะนำคณะของพวกเรา คุณงียอดเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มอุบาสิกา หลายคนสนใจถามถึงพระมุตโตทัยสยามที่ส่งไปที่อินเดีย พวกเราร่วมรับประทานอาหารเช้ากับกลุ่มอุบาสิกาในวัด หลังจากนั้นจึงนั่งสนทนากับพระอาจารย์ เรื่องพระมุตโตทัยสยามที่ดำเนินการไปประดิษฐ์ฐาน ณ ประเทศอินเดีย ซึ่งคุณงียอดขอให้ผมช่วยนำเรียนหลวงพ่อพยุงเป็นภาษาไทยว่า พระพุทธรูปได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนที่ไปสักการะได้ฝากให้มาแสดงความซาบซึ้งใจกับคณะผู้จัดทำด้วย คุณงียอดมอบของที่เตรียมนำมาถวาย พระอาจารย์พยุงได้มอบพระและหนังสือให้คณะของเรานำไปแจกจ่ายด้วย เมื่อเก็บข้าวของเรียบร้อยคุณงียอดเข้าไปขอบคุณบรรดาชาวบ้านที่กำลังล้างจาน ผมพบว่าคุณงียอดเขามีความคล่องแคล้วกระชับกระเฉ่งมาก ในการเคลื่อนไหวร่างกายยืนเดิน และดังที่ได้ทราบมาก่อนว่า เขาทำกิจกรรมเพื่อชุมชมที่เป็นประโยชน์ในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาและพระพุทธศาสนา หมู่บ้านไทพาเกในรัฐอัสสัม มีคนพุทธกลุ่มน้อยซึ่งอยู่ในพื้นที่รายล้อมด้วยชาวฮินดู มีความขัดแย้งเรื่องที่ดิน เรื่องศาสนา และในความคิดของผมเท่าที่สังเกตเห็น เขาดูจะจัดการความทุกข์ใจระหว่างเรื่องงานกับการเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ค่อนข้างลงตัว

          รถตู้ออกจากวัดราวเก้าโมงครึ่ง ซึ่งเลยกำหนดการเดิมมากว่าชั่วโมง คนที่เหนื่อยที่สุดคือคุณดอยที่ขับรถให้เร็วขึ้นจากเช้าถึงดึก เราแวะสักการะพระธาตุพนมถ่ายรูปริมแม่น้ำโขงเพียงที่เดียว ที่เหลือคือสถานีน้ำมันและเติมแก๊ส ตลอดเส้นทางยอมรับว่าใจผมกังวลว่าว่าเราจะไปถึงทันเวลาหรือเปล่า ช่วงที่หวาดเสียวคือช่วงข้ามเขาใหญ่ในตอนค่ำ แล้วมีรถพ่วงและสิบล้อวิ่งบนถนนหลายคันที่คุณดอยขับแซงไป เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินอย่างปลอดภัยพวกเรารีบช่วยกันจัดสัมภาระสวมกอดและนมัสการก่อนกล่าวคำลากัน

          มิตรภาพชั่วข้ามคืนกลับงดงามประหนึ่งญาติพี่น้อง หากคงเพราะความเป็นชาวพุทธหรือความเป็นเผ่าเชื้อไทยในต่างแดนที่ทำให้ผมสนใจและใส่ใจกับคณะที่เดินทางมาในครั้งนี้ ชาวพุทธเราเชื่อในเรื่องบุพเพหรือกรรมแต่ชาติปางก่อน การได้พบกันจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญสำหรับคนเชื่อเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิตอย่างผม ลึกๆแล้วผมเชื่ออีกว่าคนเราเกิดมามีหน้าที่ เช่นเรื่องราวการเสวยชาติต่างๆของพระโพธิสัตว์ล้วนมีหน้าที่ในการแสดงธรรมมะให้ประจักษ์แด่หมู่สัตว์ในชาตินั้นๆ สำหรับปุถุชนอย่างผมนั้นคงเป็นหน้าที่ในส่วนเล็กเท่าที่ได้เชื่อมต่อผู้คนให้ได้พบเจอกัน  และในปมลึกๆคือการเดินทางไปตามเรื่องราวที่ค้างงัดด้วยเหตุผลในระหว่างศรัทธาความเชื่อ อิทธิปาฏิหาริย์ที่ขับเคี่ยวกันอยู่ในหัวสมองอันตื้นเขลาเบาปัญญาของตัวเอง กับคำถามและปริศนาของผู้คนยุคก่อนเก่า ผู้มีศรัทธาเปี่ยมล้น มีกำลังใจสูงส่ง กำลังกายที่เข้มแข็ง ความเพียรอันแก่กล้า การเดินทางจึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ทุกครั้งสำหรับผมและสำหรับคำถามนั้นคำตอบอาจไม่จำเป็นต้องเฉลยในตอนนี้ ก็ได้.

 

ด้วยจิตคารวะ
นวพล ลีนิน
22 พ.ย. 2556

 

                                           


นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.


นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.         


          เรามักได้ไปในสถานที่ที่เรานึกถึงอยู่เสมอ นั้นเป็นความคิดที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกประทับใจ เมื่อมีโอกาสได้ไป “วัดป่าหนองผือ” อย่างไม่คาดคิดและเรื่องแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก กับเรื่องราวของพระภิกษุรูปหนึ่งที่จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เส้นทางธุดงค์ผ่านป่าถ้ำลำไพร ซึ่งเราอาจเคยอ่านพบตามหนังสือประวัติพระเกจิอาจารย์เก่าๆเล่มใดเล่มหนึ่ง หรือในรายการสารคดี แผ่นซีดีที่ไหนสักแห่งจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายและร่วมอนุโมทนาบุญ  จำได้ว่าครั้งหนึ่งผมเคยรื้อหนังสือนิตยสารพระอย่างโลกทิพย์ ,คนเหนือโลก ,โลกลี้ลับหรืออะไรประมาณนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่พ่อมักรับไว้ทุกเดือนจนเต็มตู้ หนังสือ เรื่องราวของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ หรือที่เรียกติดปากว่าหลวงปู่มั่น กับเส้นทางและสถานที่ธุดงค์ในอดีตที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเรื่องราวปาฏิหาริย์ในยุคที่ถนนหนทางยังไม่สะดวกสบายเช่นทุกวัน คงไม่ต้องกล่าวถึงไฟฟ้าหรือโทรศัพท์ ในช่วงก่อนสิ้นอายุขัยของท่านเมื่อ
64 ปีที่ผ่านมา

          โดยส่วนตัวผมไม่ได้มีสัมผัสพิเศษหรือญาณทิพย์อะไร หากเชื่อว่าเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์ สัมผัสรู้ถึงโลกทิพย์ต่างมิตินั้น เป็นเรื่องที่สัมผัสรู้ได้เฉพาะบุคคล ในยุคที่น้ำไหลไฟสว่าง หากไปพูดคุยกับคนรุ่นใหม่บางคนเขาอาจรู้สึกขำ เมื่อเราพูดถึงเทพเทวดา ผี สางนางไม้ จึงคิดว่าค่อนข้างเสียเวลาเปล่าที่เราจะหยิบยกเหตุผลมายืนยันความมีอยู่ของเรื่องราวเหล่านี้ ผมจึงค่อนข้างระมัดระวังเมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ และมักเลือกพูดคุยกับคนที่เปิดรับเรื่องนี้ได้ โอกาสดีที่ทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศได้ขอตัวผม ผ่านทางภรรยาซึ่งทำงานอยู่ที่นั้น ให้ช่วยดูแลนำคณะชาวอินเดียจากรัฐอัสสัมไปวัดหลวงปู่มั่นที่จังหวัดสกลนคร  เบื้องต้นทราบข้อมูลเพียงว่าเป็นคณะของ “คุณงียอด เวียงแก่น” ซึ่งเป็นชาวอินเดียเชื้อสายไทพาเก หนึ่งในชนเผ่าที่พูดภาษาและมีวัฒนธรรมตระกูลชานไตในรัฐอัสสัมดินแดนรอยต่อกับพม่า ภูฐาน สิขิม เนปาลและดินแดนที่มีชื่อว่าอรุณจันทร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เหตุผลประการสำคัญที่ผมต้องรับหน้าที่นี้มีด้วยกัน 2 อย่าง หนึ่งคือน้ำใจของหมอต้อม ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศที่ให้ความช่วยเหลือในความเป็นเครือข่ายกิจกรรมมาโดยตลอด สองคือคราวที่หมอต้อมและคุณเบญจวรรณ บุญเผือก(ภรรยาของผม)เดินทางไปนำเสนองานวิชาการด้านสมุนไพรนานาชาติ  เคยลงพื้นที่ในชุมชนของคุณงียอดในรัฐอัสสัม คุณงียอดให้สถานที่พักและการต้อนรับอย่างเต็มที่  ภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้จึงรับไว้อย่างเต็มใจ และอาจมีอีกหนึ่งเหตุผลส่วนตัวลึกๆดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผมเคยรู้ประวัติหลวงปู่มั่นมาบาง เคยได้ยินชื่อเสียงและสถานที่มานาน แล้วตั้งใจว่าต้องหาโอกาสไปเยือนสักครั้งในชีวิต

          คณะของเรารวมทั้งหมด 5 ชีวิต คือคุณดอยพนักงานขับรถของมูลนิธิ พระภิกษุชาวอัสสัม 2 รูป คุณงียอด และตัวผมเอง ในตอนแรกผมไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งนี้มากนัก รู้คร่าวๆเพียงว่า เราต้องเดินทางไปจังหวัดสกลนครในเช้าวันที่ 20 พฤจิกายน 2556 นี้ โดยผมไม่รู้เลยว่าวัดป่าที่จะไปตั้งอยู่ที่ใด?ในจังหวัดสกลนคร ก็ไม่รู้ว่าวัดชื่ออะไร? คณะจากอินเดียไปวัดหลวงปู่มั่นทำไม? เจ้าอาวาสจะอยู่ไหม? แล้วพวกเขาจะไปพบเจ้าอาวาสทำไม? เรามีการเตรียมการล่วงหน้า 1 วันโดยคุณดอยแวะมาพูดนัดหมายก่อนการเดินทาง เช้าวันที่ 20 คุณดอยมารับผมราว 6 โมงครึ่งออกรถไปรับคณะที่ อาคารเปรมสุขในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ เราคุยกันถึงเรื่องอาหารมื้อเช้าอย่างกังวลใจว่าพระทั้งสองสามารถรับประทานเกาเหลาเลือดหมูที่ร้านข้างสถานีรถไฟได้ไหม แล้วทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี สังเกตว่าคุณดอยมีความทะมัดทะแมง และรอบคอบตรวจตรารถก่อนเดินทางไกล

          สำหรับคุณดอยนั้นผมเคยรู้จักมาก่อนนี้แล้ว จึงทักทายปราศรัยกันอย่างสนิทสนม ส่วนการทำความรู้จักคุณงียอด และพระทั้งสองรูป ผมใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงป่าตองภูเก็ตรู้เรื่อง พระรูปแรกยิ้มกว้างหน้าตาคล้ายคนไทยชื่อเรวัตตะ ท่านบอกว่าเป็นชื่อของพระสารีบุตรสมัยเด็ก องค์ที่สองมีหน้าตาละม้ายจีนหรือธิเบตมากกว่าอินเดีย ถ้าใครไม่รู้มาก่อนคงคิดว่าท่านเป็นหลวงจีนมาจากไต้หวัน แรกๆท่านไม่ค่อยยิ้ม แต่พอผ่านไปจึงพบว่าท่านอ่อนโยน มีอารมณ์ขัน และชอบทำท่าทางในทันทีเมื่อกล้องจับภาพ ภาษาอินเดียเรียกพระว่าภิกขุหรือภันเต ทราบความหมายภายหลังภันเตแปลว่าผู้เจริญ ส่วนภิกขุนั้นเคยรู้มาก่อนแล้วว่าแปลว่า “ผู้ขอ” เมื่อรับประทานอาหาร จัดข้าวของตรวจตราสภาพรถเรียบร้อยแล้ว  คุณดอยจึงขับรถตู้พาพวกเราข้ามเทือกเขาใหญ่ทางเส้นทางทับลาน ประเด็นพูดคุยบนรถตู้ที่ผมพยายามหยิบโยงเข้าสู่เรื่องราวของหลวงปู่มั่น เริ่มจากแผ่นป้ายไว้อาลัยสมเด็จพระสังฆราช จากปัญหาความขัดแย้งในคณะสงฆ์ไทย สู่การต่อสู้ทางการเมือง พรรคคอมมิวนิตส์แห่งประเทศไทยกับศาสนาพุทธแบบไทยๆ สุดที่คำว่า “ภูริทัตโต”ซึ่งเป็นชื่อของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่เสวยชาติเป็นพญานาค ภิกขุปัญญาศิริแสดงอาการสนใจยืดตัวตรงจากพนักเก้าอี้ที่ปรับเอนแล้วกล่าวคาถาภาษาบาลีได้น่าฟัง บทพระคาถาจับใจความได้นิดหนึ่งว่าเกี่ยวกับการรักษาศีลของพระโพธิสัตว์ภูริทัตตะ และบั้งไฟพระยานาค ผมเล่าต่อถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับลูกไฟวันออกพรรษาที่แม่น้ำโขงเป็นเรื่องที่ทั้งสามให้ความสนใจมาก โดยเฉพาะคุณงียอดถึงขนาดตื่นตั้งแต่ตีสี่ในวันรุ่งมาบอกผมว่า อยากให้เปลี่ยนแผนออกเดินทางไปดูจุดที่เกิดบั้งไฟพระยานาค แต่ผมกับคุณดอยพยายามอธิบายเส้นทางว่ามันไกลมาก และที่สำคัญคือเรานัดทางวัดไว้แล้วว่าจะไปร่วมเดินบิณฑบาตกันกับคณะพระที่วัด

          คณะของเรามาถึงวัดวัดป่าภูริทัตตถิราวาสค่ำร่ำไร คงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเดินทางเข้ามาในภาคอิสานแบบลึกๆ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสิน ก่อนถึงจังหวัดสกลนครปลายทาง การเดินทางกว่า 10 ชั่วโมง วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ตั้งอยู่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บรรยากาศที่เงียบจนผมรู้สึกเกรงใจเข้ามาของคณะโดยเสียงรถตู้อาจทำลายบรรยากาศที่เงียบสงบนี้เสีย เมื่อรถจอดพวกเราลงรถจึงพบว่า สิ่งที่ทั้งสามได้ปฏิบัติซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ชาวไทพาเกมีศรัทธาและวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ทั้งพระและฆาราวาสถอดรองเท้าก่อนเดินเข้าไปในเขตกุฎิพระอาจารย์มั่น พวกเราถอดรองเท้าตามชาวไทพาเกเดินไปกราบกุฏิที่มีป้ายบอกชื่อว่ากุฏิหลวงปู่มั่น ภาพกุฏิหลวงปู่มั่นที่เคยเห็นชาวเฟสบุ๊คโพสรูป เมื่อได้มาสัมผัสสถานที่จริง ความรู้สึกแปลกๆอย่างบอกไม่ถูก ความสงบเงียบของบรรยากาศโดยรอบ มีเพียงเสียงแมลงเรไรยามค่ำเท่านั้นกระมัง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผมคือความรู้สึกศรัทธา กุฎิหลวงปู่มั่นเป็นเรือนไม้ยกพื้นหลังคาปั้นหยามีชานยื่นออกมาเล็กน้อยระเบียงโล่งสังเกตว่าบนเรือนมีห้องเล็กๆห้องหนึ่ง แล้วความรู้สึกสะท้อนใจก็ค่อยๆเข้ามาแทนที่ เมื่อเข้าใจได้ว่ากฎธรรมชาติ หรือไตรลักษณ์ที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง ในยุคที่เราเดินทางอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับยุคของหลวงปู่ที่เดินเท้ารอนแรมกลางป่า นี้กระมังที่เป็นคุณค่าของการอนุรักษ์ แม้สรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแต่บทเรียนจากอดีตที่คนรุ่นสร้างไว้นั้น เป็นคุณค่าที่เตือนให้เราเข้าใจที่จะอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุขขึ้นและพร้อมเผชิญหน้ากับอนาคตอย่างไม่ประมาทขึ้น หลังจากคณะกราบไหว้เสร็จแล้วบรรยากาศมืดอย่างรวดเร็วในช่วงรอยต่อพลบค่ำ พวกเรารีบเดินตามแสงไฟนีออนจากกุฏิที่อยู่ถัดไป ร้องถามว่า “มีใครอยู่รึเปล่า” มีชายหัวโล้นในชุดขาวแบบชุดนาคเตรียมบวชโผล่ร่างออกมา ดูรูปร่างยังเป็นวัยรุ่น เมื่อบอกที่มาที่ไปเขาก็นำเราไปหาเจ้าอาวาส
          เมื่อไปถึงกุฏิท่านเจ้าอาวาส ผมจึงพอจับต้นชนปลายได้ถึงเส้นทางที่ไปที่มาของคณะชาวไทพาเกในครั้งนี้ เมื่อเข้าพบเจ้าอาวาส พระอาจารย์พยูง ชวนปัญโญ ชื่อชั้นยศตามตำแหน่งทางสงฆ์คือพระครูสุทธธรรมมาภรณ์  พวกเราแนะนำตัว ผมเป็นล่ามจำเป็นให้ พระอาจารย์พยูงจำคุณงียอดได้ โดยผมในฐานะล่ามจำเป็นต้องนำเรียนเรื่องการเดินทางมาครั้งนี้ เรื่องราวของคณะสงฆ์จากเมืองไทยที่อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในประเทศอินเดีย พระมุตโตทัยสยามเป็นชื่อพระพุทธรูปที่ทางวัดได้หล่อขึ้นจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้วนำไปมอบให้วัดพุทธในประเทศอินเดีย คำว่า”มุตโตทัย”เป็นเสมือนคำเฉพาะของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จากเนื้อหาในหนังสือที่ทางวัดจัดทำขึ้น ให้ความหมายไว้ว่า สมัยพระอาจารย์มั่นได้แสดงโอวาท ณ วัดธรรมเจดีย์ ในคราวนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)ได้กล่าวสัมโมทนียคาถา ชมเชยพระอาจารย์มั่นว่า ท่านแสดงธรรมด้วย “มุตโตทัย” ต่อมาภายหลังเมื่อศิษยานุศิษย์ได้ตีพิมพ์หนังสือบันทึกการแสดงธรรมของท่านจึงบันทึกหนังสือธรรมบทนี้ว่า “มุตโตทัย”  โดยคำว่า“ทัย”แปลว่าให้ “มุตโต”แปลว่าพ้น รวมความหมายแปลว่า “ให้ทางพ้นทุกข์”นั้นเอง พระพุทธรูปมุตโตทัยสยาม จากประเทศไทยที่มอบไปยังประเทศอินเดียนั้น ยังเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่นภูริทัตตโต และเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

           เราคุยกันสักครู่หนึ่งท่านเจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดนำเราไปหาที่นอน ทางวัดจัดให้พวกเรานอนกันที่ศาลาพักหลังเก่า มีป้ายเก่าเขียนว่าศาลาพักอาคันตุกะที่มาเยี่ยมวัด เป็นเรือนไม้ยกพื้น มีรูปปั้นหลวงปู่มั่นและหลวงปู่ฝั้น กับโต๊ะหมู่พระพุทธรูปตั้งอยู่เรือนไม้มีพื้นสองระดับเราจัดให้พระทั้งสองงรูปนอนด้านบน คณะของเราทยอยอาบน้ำทำภารกิจส่วนตัว ผมสังเกตว่าคุณงียอดอาบน้ำเสร็จก็นั่งนับลูกประคำอยู่ในมุ้ง ผมถือโอกาสเดินเล่นบริเวณรอบๆวัด วัดป่าแห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ๆหลายต้น มีต้นหนึ่งตรงบริเวณใกล้ที่จอดรถ ซึ่งโดยปกติผมชอบต้นไม้ และด้วยที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกมาว่าหากเราเปิดใจจริงๆ เราจะสามารถสื่อสารกับต้นไม้ได้ ต้นไม้ต้นนี้ขนาด 2คนโอบ เปลือกของต้นสีน้ำตาลนวลสว่าง ร่องรอยของเปลือกไม้เป็นแผ่นคล้ายผืนดินนาหน้าแหล่งแผ่น ผมลองเพ่งอยู่นานๆ ตาค่อยๆลายมองเห็นเป็นใบหน้าของผู้เฒ่าที่มีหนวดใส่หมวกแบบจีนอยู่ในต้นไม้  ตอนรุ่งเช้าไม่รู้จริงเท็จประการใดคุณดอยบอกว่าลุงในวัดคนหนึ่งบอกว่าต้นไม้ต้นนี้เป็นต้นที่หลวงปู่มั่นดูแลมาตั้งแต่ยังเล็กรดน้ำให้จนโตสูงใหญ่ ตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นพบว่ามีขบวนมดป่าเดินเป็นทางมาตามลานทรายจากศาลาการเปรียญไต่ขึ้นไปบนต้นไม้
          เพียงคืนเดียวที่ได้มาที่นี่ผมใช้โอกาสในครั้งนี้ให้สัมผัสถึงความรู้สึกสงบมากที่สุด ตั้งใจพิจารณาลมหายใจแบบพื้นๆเท่าที่รู้มา  เดินไปรอบๆบริเวณวัดมีทางเดินเป็นลานทรายสบายเท้า ต้นไม้ครึ้ม แต่ก็ยังได้ยินเสียงรถแม็คโฮขุดดินกับเสียงมอเตอร์ไซค์แว่วอยู่ไกลๆ คล้ายบอกว่านั้นคือสัญลักษณ์ของความวุ่นวายจากโลกภายนอก ความคิดที่ติดกับอดีตของผมเองมันทำงานเปรียบเทียบกันทุกครั้ง ระหว่างความเป็นปัจจุบันกับร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แน่นอนว่านั้นคือผลของการตระหนักในคุณค่าที่ไม่มีทางสัมผัสได้ ในยุคที่พระอาจารย์มั่นเดินเท้า แน่นอนว่าในยุคนั้นก็ไม่มีถนนหนทางหรือรถตู้เช่นยุคปัจจุบันแน่ๆ ในยุคที่สิ่งอำนวยความสะดวก และองค์ความรู้อันแสดงถึงความชานฉลาดของยุคสมัย แต่แล้วความสัมผัสอันเป็นทิพย์อย่างผู้คนยุคก่อนสัมผัสนั้นหายไป ยุคของพวกเราคล้ายเป็นจินตนาการแห่งสวรรค์บันดาลของคนยุคก่อน ผู้คนเมื่อร้อยปีก่อนคงจินตนาการได้ถึงดินแดนที่เดินทางได้อย่างรวดเร็ว พูดคุยถึงกันได้แม้อยู่ห่างไกลกัน สัมผัสกันด้วยภาพและเสียง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ปรับอากาศให้ร้อนเย็นได้ตามความต้องการ อาหารการกินที่ปรุงได้ง่ายรวดเร็วเหลือเฟือย ในที่สุดคนเราก็มักหาคำตอบในคำถามพื้นๆไม่ได้ว่า เราต่างดิ้นรนไปเพื่ออะไรกัน

          การเดินทางครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต ผมรู้สึกภูมิใจที่ประสานให้พระจากรัฐอ้สสัม ประเทศอินเดียได้เดินบิณฑบาตร่วมขบวนกับพระที่วัดภูริทัตตธิราวาส คณะพวกเราตื่นกันตั้งแต่เช้ามืดทยอยล้างหน้าแปรงฟัน ผมรู้สึกแปลกใจที่คุณงียอดบอกว่า ถ้าเป็นไปได้คณะอยากไปดูสถานที่เกิดบั้งไฟพระยานาคมากกว่า เช่นเดียวกับ ภิกขุปัญญาศิริที่บอกว่าเขาเคยอ่านหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ท่านภาวนาอยู่ในถ้ำ ต้องเผชิญกับสิ่งที่น่ากลัว พวกยักษ์หรือพระยานาค แล้วก็อยากไปดูถ้ำของพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านยังสงสัยว่าทำไมที่นี่ไม่มีถ้ำ ออกอาการคล้ายเสียดาย แต่นั้นคือข้อเสนอที่ผมกับคุณดอยค่อนข้างหนักใจเนื่องจากเวลาเรามีน้อย อีกทั้งคณะเรานัดกับทางวัดไว้แล้วว่าจะร่วมเดินบิณฑบาต คุณดอยเอาแผนที่มากางให้คณะได้ดู เพื่อให้พวกเราทั้งหมดได้เข้าใจ เห็นว่าระยะทางจากที่นี่ไปอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นอีก 400 กิโลเมตร ผมจึงพยายามอธิบายจนคณะเข้าใจว่าเราจะเสียเวลามากๆและอาจตกเครื่อง  จึงได้ข้อสรุปตกลงว่าเราไปร่วมเดินบิณฑบาต โดยทางวัดได้จัดเตรียมบาตรไว้ 2 บาตร มีพระพี่เลี้ยงแสดงวิธีจัดบาตร  เมื่อแสงตอนเช้าส่องได้ที่ พวกเราจึงเดินเพื่อไปตั้งขบวนที่ทางเข้าหมู่บ้าน ผมถอดรองเท้าเดินตามแบบคุณงียอด สองข้างทางเป็นทุ่งนาช่วงฤดูเกี่ยวข้าว มีกองฟางอยู่ในทุ่งหน้า ต้นข้าวแห้งเป็นสีเหลืองสว่างตาเมื่อต้องแสงยามเช้า บรรดาพระ 24 รูปตั้งขบวนที่ปากทางเข้าหมู่บ้าน เมื่อพร้อมแล้วจึงออกเดินอย่างเป็นระเบียบและสงบ ชาวบ้านตั้งขบวนกันอยู่จุดเดียว จึงใช้เวลาไม่มาก ชาวบ้านหนองผือยังใสบาตรทุกเช้า บางบ้านมีเรือนไม้ขนาดประมาณตู้กับข้าวยกพื้นสูงตั้งไว้หน้าบ้านสำหรับวางปิ่นโตและของใส่บาตร ทราบมาว่าทางหมู่บ้านและวัดพึ่งจัดพิธีฉลองครบรอบวันละสังขารหลวงปู่มั่น แม้หลวงปู่มั่นละสังขารไปครบ 64 ก่อนเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา เท่าที่สังเกตดูคุณงี่ยอดประทับใจในกิจกรรมยามเช้าครั้งนี้มาก เดินเท่าเปล่าตามขบวนพระ ทักทายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวภูไท ภาษาไทพาเกกับภาษาภูไทสื่อสารกันได้ เพียงไม่กี่นาทีที่พูดคุยกันชาวบ้านก็เปิดกระติบข้าวให้ล้วงข้าวเหนียวที่เหลือจากขึ้นมาชิม เราโชคดีที่ได้รับมิตรไมตรีจากชาวบ้านที่นี่ บางคนถามผมว่าเป็นนักข่าวมาจากช่องไหน จึงต้องอธิบายให้พอเข้าใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และหนึ่งในนั้นคือลุงสมหมายที่ปั่นจักรยานมาจอดคุย เมื่อขบวนพระเดินกลับวัดไปแล้ว ลุงสมหมายชวนพวกเราไปบ้านเพื่อแวะดูพระธาตุที่แกสะสมไว้ ถือเป็นมิตรไมตรีที่ดีมากสำหรับผู้ที่พบกันเป็นครั้งแรก แล้วเชิญพวกเราเข้าไปชมห้องพระที่อยู่บนบ้านลึกถึงห้องนอน ลุงสมหมายเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่เกษียณอายุปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในห้องพระมีพระเครื่องและพระพุทธรูปอยู่เกือบเต็มทุกด้าน  ระหว่างที่อัญเชิญพระเครื่องลงมาให้พวกเราชม กับอาการเร่งรีบของลุงสมหมายที่พูดสอนธรรมให้พวกเราฟัง ไม่รู้ว่าเป็นบาปหรือเปล่าที่ผมแอบขำแกมหมั่นไส้ลุงเขาอยู่ในใจ เนื่องจากเวลามีจำกัด จึงขอบอกขอบใจและหวังว่าหากมีโอกาสจะกลับมาขอชมพระธาตุอีกครั้ง

          ช่วงก่อนพระฉันเช้าทางพระอาจารย์พยุงได้กล่าวแนะนำคณะของพวกเรา คุณงียอดเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มอุบาสิกา หลายคนสนใจถามถึงพระมุตโตทัยสยามที่ส่งไปที่อินเดีย พวกเราร่วมรับประทานอาหารเช้ากับกลุ่มอุบาสิกาในวัด หลังจากนั้นจึงนั่งสนทนากับพระอาจารย์ เรื่องพระมุตโตทัยสยามที่ดำเนินการไปประดิษฐ์ฐาน ณ ประเทศอินเดีย ซึ่งคุณงียอดขอให้ผมช่วยนำเรียนหลวงพ่อพยุงเป็นภาษาไทยว่า พระพุทธรูปได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนที่ไปสักการะได้ฝากให้มาแสดงความซาบซึ้งใจกับคณะผู้จัดทำด้วย คุณงียอดมอบของที่เตรียมนำมาถวาย พระอาจารย์พยุงได้มอบพระและหนังสือให้คณะของเรานำไปแจกจ่ายด้วย เมื่อเก็บข้าวของเรียบร้อยคุณงียอดเข้าไปขอบคุณบรรดาชาวบ้านที่กำลังล้างจาน ผมพบว่าคุณงียอดเขามีความคล่องแคล้วกระชับกระเฉ่งมาก ในการเคลื่อนไหวร่างกายยืนเดิน และดังที่ได้ทราบมาก่อนว่า เขาทำกิจกรรมเพื่อชุมชมที่เป็นประโยชน์ในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาและพระพุทธศาสนา หมู่บ้านไทพาเกในรัฐอัสสัม มีคนพุทธกลุ่มน้อยซึ่งอยู่ในพื้นที่รายล้อมด้วยชาวฮินดู มีความขัดแย้งเรื่องที่ดิน เรื่องศาสนา และในความคิดของผมเท่าที่สังเกตเห็น เขาดูจะจัดการความทุกข์ใจระหว่างเรื่องงานกับการเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ค่อนข้างลงตัว

          รถตู้ออกจากวัดราวเก้าโมงครึ่ง ซึ่งเลยกำหนดการเดิมมากว่าชั่วโมง คนที่เหนื่อยที่สุดคือคุณดอยที่ขับรถให้เร็วขึ้นจากเช้าถึงดึก เราแวะสักการะพระธาตุพนมถ่ายรูปริมแม่น้ำโขงเพียงที่เดียว ที่เหลือคือสถานีน้ำมันและเติมแก๊ส ตลอดเส้นทางยอมรับว่าใจผมกังวลว่าว่าเราจะไปถึงทันเวลาหรือเปล่า ช่วงที่หวาดเสียวคือช่วงข้ามเขาใหญ่ในตอนค่ำ แล้วมีรถพ่วงและสิบล้อวิ่งบนถนนหลายคันที่คุณดอยขับแซงไป เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินอย่างปลอดภัยพวกเรารีบช่วยกันจัดสัมภาระสวมกอดและนมัสการก่อนกล่าวคำลากัน

          มิตรภาพชั่วข้ามคืนกลับงดงามประหนึ่งญาติพี่น้อง หากคงเพราะความเป็นชาวพุทธหรือความเป็นเผ่าเชื้อไทยในต่างแดนที่ทำให้ผมสนใจและใส่ใจกับคณะที่เดินทางมาในครั้งนี้ ชาวพุทธเราเชื่อในเรื่องบุพเพหรือกรรมแต่ชาติปางก่อน การได้พบกันจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญสำหรับคนเชื่อเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิตอย่างผม ลึกๆแล้วผมเชื่ออีกว่าคนเราเกิดมามีหน้าที่ เช่นเรื่องราวการเสวยชาติต่างๆของพระโพธิสัตว์ล้วนมีหน้าที่ในการแสดงธรรมมะให้ประจักษ์แด่หมู่สัตว์ในชาตินั้นๆ สำหรับปุถุชนอย่างผมนั้นคงเป็นหน้าที่ในส่วนเล็กเท่าที่ได้เชื่อมต่อผู้คนให้ได้พบเจอกัน  และในปมลึกๆคือการเดินทางไปตามเรื่องราวที่ค้างงัดด้วยเหตุผลในระหว่างศรัทธาความเชื่อ อิทธิปาฏิหาริย์ที่ขับเคี่ยวกันอยู่ในหัวสมองอันตื้นเขลาเบาปัญญาของตัวเอง กับคำถามและปริศนาของผู้คนยุคก่อนเก่า ผู้มีศรัทธาเปี่ยมล้น มีกำลังใจสูงส่ง กำลังกายที่เข้มแข็ง ความเพียรอันแก่กล้า การเดินทางจึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ทุกครั้งสำหรับผมและสำหรับคำถามนั้นคำตอบอาจไม่จำเป็นต้องเฉลยในตอนนี้ ก็ได้.

 

ด้วยจิตคารวะ
นวพล ลีนิน
22 พ.ย. 2556

 

                                           


นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.


นำคณะชาวไทพาเกตามรอยหลวงปู่มั่น.         


          เรามักได้ไปในสถานที่ที่เรานึกถึงอยู่เสมอ นั้นเป็นความคิดที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกประทับใจ เมื่อมีโอกาสได้ไป “วัดป่าหนองผือ” อย่างไม่คาดคิดและเรื่องแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก กับเรื่องราวของพระภิกษุรูปหนึ่งที่จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เส้นทางธุดงค์ผ่านป่าถ้ำลำไพร ซึ่งเราอาจเคยอ่านพบตามหนังสือประวัติพระเกจิอาจารย์เก่าๆเล่มใดเล่มหนึ่ง หรือในรายการสารคดี แผ่นซีดีที่ไหนสักแห่งจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายและร่วมอนุโมทนาบุญ  จำได้ว่าครั้งหนึ่งผมเคยรื้อหนังสือนิตยสารพระอย่างโลกทิพย์ ,คนเหนือโลก ,โลกลี้ลับหรืออะไรประมาณนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่พ่อมักรับไว้ทุกเดือนจนเต็มตู้ หนังสือ เรื่องราวของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ หรือที่เรียกติดปากว่าหลวงปู่มั่น กับเส้นทางและสถานที่ธุดงค์ในอดีตที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเรื่องราวปาฏิหาริย์ในยุคที่ถนนหนทางยังไม่สะดวกสบายเช่นทุกวัน คงไม่ต้องกล่าวถึงไฟฟ้าหรือโทรศัพท์ ในช่วงก่อนสิ้นอายุขัยของท่านเมื่อ
64 ปีที่ผ่านมา

          โดยส่วนตัวผมไม่ได้มีสัมผัสพิเศษหรือญาณทิพย์อะไร หากเชื่อว่าเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์ สัมผัสรู้ถึงโลกทิพย์ต่างมิตินั้น เป็นเรื่องที่สัมผัสรู้ได้เฉพาะบุคคล ในยุคที่น้ำไหลไฟสว่าง หากไปพูดคุยกับคนรุ่นใหม่บางคนเขาอาจรู้สึกขำ เมื่อเราพูดถึงเทพเทวดา ผี สางนางไม้ จึงคิดว่าค่อนข้างเสียเวลาเปล่าที่เราจะหยิบยกเหตุผลมายืนยันความมีอยู่ของเรื่องราวเหล่านี้ ผมจึงค่อนข้างระมัดระวังเมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ และมักเลือกพูดคุยกับคนที่เปิดรับเรื่องนี้ได้ โอกาสดีที่ทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศได้ขอตัวผม ผ่านทางภรรยาซึ่งทำงานอยู่ที่นั้น ให้ช่วยดูแลนำคณะชาวอินเดียจากรัฐอัสสัมไปวัดหลวงปู่มั่นที่จังหวัดสกลนคร  เบื้องต้นทราบข้อมูลเพียงว่าเป็นคณะของ “คุณงียอด เวียงแก่น” ซึ่งเป็นชาวอินเดียเชื้อสายไทพาเก หนึ่งในชนเผ่าที่พูดภาษาและมีวัฒนธรรมตระกูลชานไตในรัฐอัสสัมดินแดนรอยต่อกับพม่า ภูฐาน สิขิม เนปาลและดินแดนที่มีชื่อว่าอรุณจันทร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เหตุผลประการสำคัญที่ผมต้องรับหน้าที่นี้มีด้วยกัน 2 อย่าง หนึ่งคือน้ำใจของหมอต้อม ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศที่ให้ความช่วยเหลือในความเป็นเครือข่ายกิจกรรมมาโดยตลอด สองคือคราวที่หมอต้อมและคุณเบญจวรรณ บุญเผือก(ภรรยาของผม)เดินทางไปนำเสนองานวิชาการด้านสมุนไพรนานาชาติ  เคยลงพื้นที่ในชุมชนของคุณงียอดในรัฐอัสสัม คุณงียอดให้สถานที่พักและการต้อนรับอย่างเต็มที่  ภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้จึงรับไว้อย่างเต็มใจ และอาจมีอีกหนึ่งเหตุผลส่วนตัวลึกๆดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผมเคยรู้ประวัติหลวงปู่มั่นมาบาง เคยได้ยินชื่อเสียงและสถานที่มานาน แล้วตั้งใจว่าต้องหาโอกาสไปเยือนสักครั้งในชีวิต

          คณะของเรารวมทั้งหมด 5 ชีวิต คือคุณดอยพนักงานขับรถของมูลนิธิ พระภิกษุชาวอัสสัม 2 รูป คุณงียอด และตัวผมเอง ในตอนแรกผมไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งนี้มากนัก รู้คร่าวๆเพียงว่า เราต้องเดินทางไปจังหวัดสกลนครในเช้าวันที่ 20 พฤจิกายน 2556 นี้ โดยผมไม่รู้เลยว่าวัดป่าที่จะไปตั้งอยู่ที่ใด?ในจังหวัดสกลนคร ก็ไม่รู้ว่าวัดชื่ออะไร? คณะจากอินเดียไปวัดหลวงปู่มั่นทำไม? เจ้าอาวาสจะอยู่ไหม? แล้วพวกเขาจะไปพบเจ้าอาวาสทำไม? เรามีการเตรียมการล่วงหน้า 1 วันโดยคุณดอยแวะมาพูดนัดหมายก่อนการเดินทาง เช้าวันที่ 20 คุณดอยมารับผมราว 6 โมงครึ่งออกรถไปรับคณะที่ อาคารเปรมสุขในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ เราคุยกันถึงเรื่องอาหารมื้อเช้าอย่างกังวลใจว่าพระทั้งสองสามารถรับประทานเกาเหลาเลือดหมูที่ร้านข้างสถานีรถไฟได้ไหม แล้วทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี สังเกตว่าคุณดอยมีความทะมัดทะแมง และรอบคอบตรวจตรารถก่อนเดินทางไกล

          สำหรับคุณดอยนั้นผมเคยรู้จักมาก่อนนี้แล้ว จึงทักทายปราศรัยกันอย่างสนิทสนม ส่วนการทำความรู้จักคุณงียอด และพระทั้งสองรูป ผมใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงป่าตองภูเก็ตรู้เรื่อง พระรูปแรกยิ้มกว้างหน้าตาคล้ายคนไทยชื่อเรวัตตะ ท่านบอกว่าเป็นชื่อของพระสารีบุตรสมัยเด็ก องค์ที่สองมีหน้าตาละม้ายจีนหรือธิเบตมากกว่าอินเดีย ถ้าใครไม่รู้มาก่อนคงคิดว่าท่านเป็นหลวงจีนมาจากไต้หวัน แรกๆท่านไม่ค่อยยิ้ม แต่พอผ่านไปจึงพบว่าท่านอ่อนโยน มีอารมณ์ขัน และชอบทำท่าทางในทันทีเมื่อกล้องจับภาพ ภาษาอินเดียเรียกพระว่าภิกขุหรือภันเต ทราบความหมายภายหลังภันเตแปลว่าผู้เจริญ ส่วนภิกขุนั้นเคยรู้มาก่อนแล้วว่าแปลว่า “ผู้ขอ” เมื่อรับประทานอาหาร จัดข้าวของตรวจตราสภาพรถเรียบร้อยแล้ว  คุณดอยจึงขับรถตู้พาพวกเราข้ามเทือกเขาใหญ่ทางเส้นทางทับลาน ประเด็นพูดคุยบนรถตู้ที่ผมพยายามหยิบโยงเข้าสู่เรื่องราวของหลวงปู่มั่น เริ่มจากแผ่นป้ายไว้อาลัยสมเด็จพระสังฆราช จากปัญหาความขัดแย้งในคณะสงฆ์ไทย สู่การต่อสู้ทางการเมือง พรรคคอมมิวนิตส์แห่งประเทศไทยกับศาสนาพุทธแบบไทยๆ สุดที่คำว่า “ภูริทัตโต”ซึ่งเป็นชื่อของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่เสวยชาติเป็นพญานาค ภิกขุปัญญาศิริแสดงอาการสนใจยืดตัวตรงจากพนักเก้าอี้ที่ปรับเอนแล้วกล่าวคาถาภาษาบาลีได้น่าฟัง บทพระคาถาจับใจความได้นิดหนึ่งว่าเกี่ยวกับการรักษาศีลของพระโพธิสัตว์ภูริทัตตะ และบั้งไฟพระยานาค ผมเล่าต่อถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับลูกไฟวันออกพรรษาที่แม่น้ำโขงเป็นเรื่องที่ทั้งสามให้ความสนใจมาก โดยเฉพาะคุณงียอดถึงขนาดตื่นตั้งแต่ตีสี่ในวันรุ่งมาบอกผมว่า อยากให้เปลี่ยนแผนออกเดินทางไปดูจุดที่เกิดบั้งไฟพระยานาค แต่ผมกับคุณดอยพยายามอธิบายเส้นทางว่ามันไกลมาก และที่สำคัญคือเรานัดทางวัดไว้แล้วว่าจะไปร่วมเดินบิณฑบาตกันกับคณะพระที่วัด

          คณะของเรามาถึงวัดวัดป่าภูริทัตตถิราวาสค่ำร่ำไร คงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเดินทางเข้ามาในภาคอิสานแบบลึกๆ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสิน ก่อนถึงจังหวัดสกลนครปลายทาง การเดินทางกว่า 10 ชั่วโมง วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ตั้งอยู่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บรรยากาศที่เงียบจนผมรู้สึกเกรงใจเข้ามาของคณะโดยเสียงรถตู้อาจทำลายบรรยากาศที่เงียบสงบนี้เสีย เมื่อรถจอดพวกเราลงรถจึงพบว่า สิ่งที่ทั้งสามได้ปฏิบัติซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ชาวไทพาเกมีศรัทธาและวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ทั้งพระและฆาราวาสถอดรองเท้าก่อนเดินเข้าไปในเขตกุฎิพระอาจารย์มั่น พวกเราถอดรองเท้าตามชาวไทพาเกเดินไปกราบกุฏิที่มีป้ายบอกชื่อว่ากุฏิหลวงปู่มั่น ภาพกุฏิหลวงปู่มั่นที่เคยเห็นชาวเฟสบุ๊คโพสรูป เมื่อได้มาสัมผัสสถานที่จริง ความรู้สึกแปลกๆอย่างบอกไม่ถูก ความสงบเงียบของบรรยากาศโดยรอบ มีเพียงเสียงแมลงเรไรยามค่ำเท่านั้นกระมัง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผมคือความรู้สึกศรัทธา กุฎิหลวงปู่มั่นเป็นเรือนไม้ยกพื้นหลังคาปั้นหยามีชานยื่นออกมาเล็กน้อยระเบียงโล่งสังเกตว่าบนเรือนมีห้องเล็กๆห้องหนึ่ง แล้วความรู้สึกสะท้อนใจก็ค่อยๆเข้ามาแทนที่ เมื่อเข้าใจได้ว่ากฎธรรมชาติ หรือไตรลักษณ์ที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง ในยุคที่เราเดินทางอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับยุคของหลวงปู่ที่เดินเท้ารอนแรมกลางป่า นี้กระมังที่เป็นคุณค่าของการอนุรักษ์ แม้สรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแต่บทเรียนจากอดีตที่คนรุ่นสร้างไว้นั้น เป็นคุณค่าที่เตือนให้เราเข้าใจที่จะอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุขขึ้นและพร้อมเผชิญหน้ากับอนาคตอย่างไม่ประมาทขึ้น หลังจากคณะกราบไหว้เสร็จแล้วบรรยากาศมืดอย่างรวดเร็วในช่วงรอยต่อพลบค่ำ พวกเรารีบเดินตามแสงไฟนีออนจากกุฏิที่อยู่ถัดไป ร้องถามว่า “มีใครอยู่รึเปล่า” มีชายหัวโล้นในชุดขาวแบบชุดนาคเตรียมบวชโผล่ร่างออกมา ดูรูปร่างยังเป็นวัยรุ่น เมื่อบอกที่มาที่ไปเขาก็นำเราไปหาเจ้าอาวาส
          เมื่อไปถึงกุฏิท่านเจ้าอาวาส ผมจึงพอจับต้นชนปลายได้ถึงเส้นทางที่ไปที่มาของคณะชาวไทพาเกในครั้งนี้ เมื่อเข้าพบเจ้าอาวาส พระอาจารย์พยูง ชวนปัญโญ ชื่อชั้นยศตามตำแหน่งทางสงฆ์คือพระครูสุทธธรรมมาภรณ์  พวกเราแนะนำตัว ผมเป็นล่ามจำเป็นให้ พระอาจารย์พยูงจำคุณงียอดได้ โดยผมในฐานะล่ามจำเป็นต้องนำเรียนเรื่องการเดินทางมาครั้งนี้ เรื่องราวของคณะสงฆ์จากเมืองไทยที่อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในประเทศอินเดีย พระมุตโตทัยสยามเป็นชื่อพระพุทธรูปที่ทางวัดได้หล่อขึ้นจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้วนำไปมอบให้วัดพุทธในประเทศอินเดีย คำว่า”มุตโตทัย”เป็นเสมือนคำเฉพาะของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จากเนื้อหาในหนังสือที่ทางวัดจัดทำขึ้น ให้ความหมายไว้ว่า สมัยพระอาจารย์มั่นได้แสดงโอวาท ณ วัดธรรมเจดีย์ ในคราวนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)ได้กล่าวสัมโมทนียคาถา ชมเชยพระอาจารย์มั่นว่า ท่านแสดงธรรมด้วย “มุตโตทัย” ต่อมาภายหลังเมื่อศิษยานุศิษย์ได้ตีพิมพ์หนังสือบันทึกการแสดงธรรมของท่านจึงบันทึกหนังสือธรรมบทนี้ว่า “มุตโตทัย”  โดยคำว่า“ทัย”แปลว่าให้ “มุตโต”แปลว่าพ้น รวมความหมายแปลว่า “ให้ทางพ้นทุกข์”นั้นเอง พระพุทธรูปมุตโตทัยสยาม จากประเทศไทยที่มอบไปยังประเทศอินเดียนั้น ยังเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่นภูริทัตตโต และเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

           เราคุยกันสักครู่หนึ่งท่านเจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดนำเราไปหาที่นอน ทางวัดจัดให้พวกเรานอนกันที่ศาลาพักหลังเก่า มีป้ายเก่าเขียนว่าศาลาพักอาคันตุกะที่มาเยี่ยมวัด เป็นเรือนไม้ยกพื้น มีรูปปั้นหลวงปู่มั่นและหลวงปู่ฝั้น กับโต๊ะหมู่พระพุทธรูปตั้งอยู่เรือนไม้มีพื้นสองระดับเราจัดให้พระทั้งสองงรูปนอนด้านบน คณะของเราทยอยอาบน้ำทำภารกิจส่วนตัว ผมสังเกตว่าคุณงียอดอาบน้ำเสร็จก็นั่งนับลูกประคำอยู่ในมุ้ง ผมถือโอกาสเดินเล่นบริเวณรอบๆวัด วัดป่าแห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ๆหลายต้น มีต้นหนึ่งตรงบริเวณใกล้ที่จอดรถ ซึ่งโดยปกติผมชอบต้นไม้ และด้วยที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกมาว่าหากเราเปิดใจจริงๆ เราจะสามารถสื่อสารกับต้นไม้ได้ ต้นไม้ต้นนี้ขนาด 2คนโอบ เปลือกของต้นสีน้ำตาลนวลสว่าง ร่องรอยของเปลือกไม้เป็นแผ่นคล้ายผืนดินนาหน้าแหล่งแผ่น ผมลองเพ่งอยู่นานๆ ตาค่อยๆลายมองเห็นเป็นใบหน้าของผู้เฒ่าที่มีหนวดใส่หมวกแบบจีนอยู่ในต้นไม้  ตอนรุ่งเช้าไม่รู้จริงเท็จประการใดคุณดอยบอกว่าลุงในวัดคนหนึ่งบอกว่าต้นไม้ต้นนี้เป็นต้นที่หลวงปู่มั่นดูแลมาตั้งแต่ยังเล็กรดน้ำให้จนโตสูงใหญ่ ตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นพบว่ามีขบวนมดป่าเดินเป็นทางมาตามลานทรายจากศาลาการเปรียญไต่ขึ้นไปบนต้นไม้
          เพียงคืนเดียวที่ได้มาที่นี่ผมใช้โอกาสในครั้งนี้ให้สัมผัสถึงความรู้สึกสงบมากที่สุด ตั้งใจพิจารณาลมหายใจแบบพื้นๆเท่าที่รู้มา  เดินไปรอบๆบริเวณวัดมีทางเดินเป็นลานทรายสบายเท้า ต้นไม้ครึ้ม แต่ก็ยังได้ยินเสียงรถแม็คโฮขุดดินกับเสียงมอเตอร์ไซค์แว่วอยู่ไกลๆ คล้ายบอกว่านั้นคือสัญลักษณ์ของความวุ่นวายจากโลกภายนอก ความคิดที่ติดกับอดีตของผมเองมันทำงานเปรียบเทียบกันทุกครั้ง ระหว่างความเป็นปัจจุบันกับร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แน่นอนว่านั้นคือผลของการตระหนักในคุณค่าที่ไม่มีทางสัมผัสได้ ในยุคที่พระอาจารย์มั่นเดินเท้า แน่นอนว่าในยุคนั้นก็ไม่มีถนนหนทางหรือรถตู้เช่นยุคปัจจุบันแน่ๆ ในยุคที่สิ่งอำนวยความสะดวก และองค์ความรู้อันแสดงถึงความชานฉลาดของยุคสมัย แต่แล้วความสัมผัสอันเป็นทิพย์อย่างผู้คนยุคก่อนสัมผัสนั้นหายไป ยุคของพวกเราคล้ายเป็นจินตนาการแห่งสวรรค์บันดาลของคนยุคก่อน ผู้คนเมื่อร้อยปีก่อนคงจินตนาการได้ถึงดินแดนที่เดินทางได้อย่างรวดเร็ว พูดคุยถึงกันได้แม้อยู่ห่างไกลกัน สัมผัสกันด้วยภาพและเสียง สิ่งอำนวยความสะดวกที่ปรับอากาศให้ร้อนเย็นได้ตามความต้องการ อาหารการกินที่ปรุงได้ง่ายรวดเร็วเหลือเฟือย ในที่สุดคนเราก็มักหาคำตอบในคำถามพื้นๆไม่ได้ว่า เราต่างดิ้นรนไปเพื่ออะไรกัน

          การเดินทางครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต ผมรู้สึกภูมิใจที่ประสานให้พระจากรัฐอ้สสัม ประเทศอินเดียได้เดินบิณฑบาตร่วมขบวนกับพระที่วัดภูริทัตตธิราวาส คณะพวกเราตื่นกันตั้งแต่เช้ามืดทยอยล้างหน้าแปรงฟัน ผมรู้สึกแปลกใจที่คุณงียอดบอกว่า ถ้าเป็นไปได้คณะอยากไปดูสถานที่เกิดบั้งไฟพระยานาคมากกว่า เช่นเดียวกับ ภิกขุปัญญาศิริที่บอกว่าเขาเคยอ่านหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ท่านภาวนาอยู่ในถ้ำ ต้องเผชิญกับสิ่งที่น่ากลัว พวกยักษ์หรือพระยานาค แล้วก็อยากไปดูถ้ำของพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านยังสงสัยว่าทำไมที่นี่ไม่มีถ้ำ ออกอาการคล้ายเสียดาย แต่นั้นคือข้อเสนอที่ผมกับคุณดอยค่อนข้างหนักใจเนื่องจากเวลาเรามีน้อย อีกทั้งคณะเรานัดกับทางวัดไว้แล้วว่าจะร่วมเดินบิณฑบาต คุณดอยเอาแผนที่มากางให้คณะได้ดู เพื่อให้พวกเราทั้งหมดได้เข้าใจ เห็นว่าระยะทางจากที่นี่ไปอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นอีก 400 กิโลเมตร ผมจึงพยายามอธิบายจนคณะเข้าใจว่าเราจะเสียเวลามากๆและอาจตกเครื่อง  จึงได้ข้อสรุปตกลงว่าเราไปร่วมเดินบิณฑบาต โดยทางวัดได้จัดเตรียมบาตรไว้ 2 บาตร มีพระพี่เลี้ยงแสดงวิธีจัดบาตร  เมื่อแสงตอนเช้าส่องได้ที่ พวกเราจึงเดินเพื่อไปตั้งขบวนที่ทางเข้าหมู่บ้าน ผมถอดรองเท้าเดินตามแบบคุณงียอด สองข้างทางเป็นทุ่งนาช่วงฤดูเกี่ยวข้าว มีกองฟางอยู่ในทุ่งหน้า ต้นข้าวแห้งเป็นสีเหลืองสว่างตาเมื่อต้องแสงยามเช้า บรรดาพระ 24 รูปตั้งขบวนที่ปากทางเข้าหมู่บ้าน เมื่อพร้อมแล้วจึงออกเดินอย่างเป็นระเบียบและสงบ ชาวบ้านตั้งขบวนกันอยู่จุดเดียว จึงใช้เวลาไม่มาก ชาวบ้านหนองผือยังใสบาตรทุกเช้า บางบ้านมีเรือนไม้ขนาดประมาณตู้กับข้าวยกพื้นสูงตั้งไว้หน้าบ้านสำหรับวางปิ่นโตและของใส่บาตร ทราบมาว่าทางหมู่บ้านและวัดพึ่งจัดพิธีฉลองครบรอบวันละสังขารหลวงปู่มั่น แม้หลวงปู่มั่นละสังขารไปครบ 64 ก่อนเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา เท่าที่สังเกตดูคุณงี่ยอดประทับใจในกิจกรรมยามเช้าครั้งนี้มาก เดินเท่าเปล่าตามขบวนพระ ทักทายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวภูไท ภาษาไทพาเกกับภาษาภูไทสื่อสารกันได้ เพียงไม่กี่นาทีที่พูดคุยกันชาวบ้านก็เปิดกระติบข้าวให้ล้วงข้าวเหนียวที่เหลือจากขึ้นมาชิม เราโชคดีที่ได้รับมิตรไมตรีจากชาวบ้านที่นี่ บางคนถามผมว่าเป็นนักข่าวมาจากช่องไหน จึงต้องอธิบายให้พอเข้าใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และหนึ่งในนั้นคือลุงสมหมายที่ปั่นจักรยานมาจอดคุย เมื่อขบวนพระเดินกลับวัดไปแล้ว ลุงสมหมายชวนพวกเราไปบ้านเพื่อแวะดูพระธาตุที่แกสะสมไว้ ถือเป็นมิตรไมตรีที่ดีมากสำหรับผู้ที่พบกันเป็นครั้งแรก แล้วเชิญพวกเราเข้าไปชมห้องพระที่อยู่บนบ้านลึกถึงห้องนอน ลุงสมหมายเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่เกษียณอายุปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในห้องพระมีพระเครื่องและพระพุทธรูปอยู่เกือบเต็มทุกด้าน  ระหว่างที่อัญเชิญพระเครื่องลงมาให้พวกเราชม กับอาการเร่งรีบของลุงสมหมายที่พูดสอนธรรมให้พวกเราฟัง ไม่รู้ว่าเป็นบาปหรือเปล่าที่ผมแอบขำแกมหมั่นไส้ลุงเขาอยู่ในใจ เนื่องจากเวลามีจำกัด จึงขอบอกขอบใจและหวังว่าหากมีโอกาสจะกลับมาขอชมพระธาตุอีกครั้ง

          ช่วงก่อนพระฉันเช้าทางพระอาจารย์พยุงได้กล่าวแนะนำคณะของพวกเรา คุณงียอดเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มอุบาสิกา หลายคนสนใจถามถึงพระมุตโตทัยสยามที่ส่งไปที่อินเดีย พวกเราร่วมรับประทานอาหารเช้ากับกลุ่มอุบาสิกาในวัด หลังจากนั้นจึงนั่งสนทนากับพระอาจารย์ เรื่องพระมุตโตทัยสยามที่ดำเนินการไปประดิษฐ์ฐาน ณ ประเทศอินเดีย ซึ่งคุณงียอดขอให้ผมช่วยนำเรียนหลวงพ่อพยุงเป็นภาษาไทยว่า พระพุทธรูปได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนที่ไปสักการะได้ฝากให้มาแสดงความซาบซึ้งใจกับคณะผู้จัดทำด้วย คุณงียอดมอบของที่เตรียมนำมาถวาย พระอาจารย์พยุงได้มอบพระและหนังสือให้คณะของเรานำไปแจกจ่ายด้วย เมื่อเก็บข้าวของเรียบร้อยคุณงียอดเข้าไปขอบคุณบรรดาชาวบ้านที่กำลังล้างจาน ผมพบว่าคุณงียอดเขามีความคล่องแคล้วกระชับกระเฉ่งมาก ในการเคลื่อนไหวร่างกายยืนเดิน และดังที่ได้ทราบมาก่อนว่า เขาทำกิจกรรมเพื่อชุมชมที่เป็นประโยชน์ในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาและพระพุทธศาสนา หมู่บ้านไทพาเกในรัฐอัสสัม มีคนพุทธกลุ่มน้อยซึ่งอยู่ในพื้นที่รายล้อมด้วยชาวฮินดู มีความขัดแย้งเรื่องที่ดิน เรื่องศาสนา และในความคิดของผมเท่าที่สังเกตเห็น เขาดูจะจัดการความทุกข์ใจระหว่างเรื่องงานกับการเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ค่อนข้างลงตัว

          รถตู้ออกจากวัดราวเก้าโมงครึ่ง ซึ่งเลยกำหนดการเดิมมากว่าชั่วโมง คนที่เหนื่อยที่สุดคือคุณดอยที่ขับรถให้เร็วขึ้นจากเช้าถึงดึก เราแวะสักการะพระธาตุพนมถ่ายรูปริมแม่น้ำโขงเพียงที่เดียว ที่เหลือคือสถานีน้ำมันและเติมแก๊ส ตลอดเส้นทางยอมรับว่าใจผมกังวลว่าว่าเราจะไปถึงทันเวลาหรือเปล่า ช่วงที่หวาดเสียวคือช่วงข้ามเขาใหญ่ในตอนค่ำ แล้วมีรถพ่วงและสิบล้อวิ่งบนถนนหลายคันที่คุณดอยขับแซงไป เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินอย่างปลอดภัยพวกเรารีบช่วยกันจัดสัมภาระสวมกอดและนมัสการก่อนกล่าวคำลากัน

          มิตรภาพชั่วข้ามคืนกลับงดงามประหนึ่งญาติพี่น้อง หากคงเพราะความเป็นชาวพุทธหรือความเป็นเผ่าเชื้อไทยในต่างแดนที่ทำให้ผมสนใจและใส่ใจกับคณะที่เดินทางมาในครั้งนี้ ชาวพุทธเราเชื่อในเรื่องบุพเพหรือกรรมแต่ชาติปางก่อน การได้พบกันจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญสำหรับคนเชื่อเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิตอย่างผม ลึกๆแล้วผมเชื่ออีกว่าคนเราเกิดมามีหน้าที่ เช่นเรื่องราวการเสวยชาติต่างๆของพระโพธิสัตว์ล้วนมีหน้าที่ในการแสดงธรรมมะให้ประจักษ์แด่หมู่สัตว์ในชาตินั้นๆ สำหรับปุถุชนอย่างผมนั้นคงเป็นหน้าที่ในส่วนเล็กเท่าที่ได้เชื่อมต่อผู้คนให้ได้พบเจอกัน  และในปมลึกๆคือการเดินทางไปตามเรื่องราวที่ค้างงัดด้วยเหตุผลในระหว่างศรัทธาความเชื่อ อิทธิปาฏิหาริย์ที่ขับเคี่ยวกันอยู่ในหัวสมองอันตื้นเขลาเบาปัญญาของตัวเอง กับคำถามและปริศนาของผู้คนยุคก่อนเก่า ผู้มีศรัทธาเปี่ยมล้น มีกำลังใจสูงส่ง กำลังกายที่เข้มแข็ง ความเพียรอันแก่กล้า การเดินทางจึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ทุกครั้งสำหรับผมและสำหรับคำถามนั้นคำตอบอาจไม่จำเป็นต้องเฉลยในตอนนี้ ก็ได้.

 

ด้วยจิตคารวะ
นวพล ลีนิน
22 พ.ย. 2556